ความหมายของงนช่างสี
งานสีเป็นงานช่วยรักษา ป้องกันสภาพผิวของเนื้อวัสดุให้คงทน มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ทำให้ผิวงานมีความสวยงามยิ่งขึ้น งานสีจะเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต ลักษณะของผู้ที่จะเป็นช่างทาสี จะต้องเป็นคนที่ต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานจนเกิดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับ เทคนิคขั้นตอนการทาสีหรือพ่นสี มีความเข้าใจเกี่ยวกับสีหรือวัสดุอื่นในการเคลือบผิว ตลอดจนโทนสีต่าง ๆ ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงให้ความรู้สึกร้อน สีฟ้าอ่อนให้ความรู้สึกกว้างสบายตา เป็นต้น ลักษณะการทำงานจะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตสูง การทาสีหากเป็นงานทาสีอาคาร ตึก ต้องใช้นั่งร้าน ทาสีในที่สูง ๆ ช่างสีจึงต้องเป็นคนที่กล้าทำงานในที่สูง
งานสีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. งานทาสีปิดลายไม้ เช่นการทาสีหรือวัสดุอื่น แล้วมองไม่เห็นลายไม้
2. งานเคลือบผิวโชว์ลายไม้ เช่น การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก ยูริเทน เมื่อทาแล้วสามารถมองเห็นลายไม้
สีน้ำอะครีลิก
เหมาะสำหรับใช้ทาภายในอาคาร ในส่วนที่เเป็นพื้นผิวฉาบปูน อิฐ คอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น โดยสีน้ำอครีลิกจากแต่ละบริษัทจะมีคุณภาพของเนื้อสีแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
- สีน้ำอะครีลิคแท้ 100 %
ใช้ทาภายในเท่านั้น นอกเสียจากจะมีการผสมสารบางตัวในการยึดเกาะและทนทานต่อสภาวะอากาศต่าง ๆ ได้ เช่น สีน้ำอะครีลิกแท้ TM 100% เนื้อสีจะให้ฟิล์มสีกึ่งเงา เนื้อสีเรียบเนียนไม่สะท้อนแสง ลดการยึดเกาะของฝุ่น สีน้ำอะคริลิกเรซิน 100 % ให้สีทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยการชะล้าง และลดการก่อตัวของคราบสกปรกบนผนังจากน้ำฝน การยึดเกาะของสีดี ไม่ลอกร่อน สีน้ำอะครีลิกผลิตจากสารอีลาสโตเมอริค อคริลิก 100 % ให้ฟิล์มสีที่ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับการปกปิดพื้นผิว แตกลายงา ป้องกันการกัดกร่อนของผิวคอนกรีต และโครงสร้างของเหล็กภายในได้
- สีน้ำอะครีลิกที่มีฟิล์มสีมีประกาย (Shimmering Emulsion)
โดยจะให้ลักษณะสีเป็นประกายเห็นได้ชัดแตกต่างจากสีทั่วไป เหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความแตกต่างของสีสัน
- สีน้ำอครีลิกผสมสารเทฟล่อน
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการเคลือบและป้องกันพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรก ปลอดภายจากความชื้น
โดยทั้งนี้ สีน้ำอะครีลิกทุกตัวในปัจจุบันมีการมุ่งเน้นในเรื่องของการเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย ป้องกันการเกิดตะใคร่น้ำและเชื้อรา ทนทานต่อความเป็นด่างของพื้นผิวได้ดี ที่สำคัญ ปราศจากสารปรอท สารตะกั่ว ให้ความปลอดภายแก้ผู้อยู่อาศัย
สีน้ำมัน
เป็นสีที่ใช้สำหรับทาภายในและภายนอกในส่วนที่เป็นงานไม้ งานโลหะ และงานทั่วไปที่ต้องการความคงทนเป็นพิเศษ เช่นประตูหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยทั่วไปผลิตจากสารเรซิน ที่แต่ละแบรนด์จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เนื้อสีจะให้ความงามมากกว่าเนือสีแบบอะครีลิกและไม่มีการผสมสารปรอท สารตะกั่ว ในเนื้อสี ให้ความปลอดภายในการนำไปใช้
สำหรับในปัจจุบัน มีหลากหลายทางเลือกในการใข้สีให้เมาะกับารูปแบบการตกแต่งต่าง ๆ จึงมีบริษัทสีหลายแห่งที่มีศูนย์ในการผสมสีตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถให้ผสมสีตามสั่งได้ตั้งแต่ขนาดควอทซ์ และขนาดเป็นแกลลอน ตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการนำไปใช้ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงขนาดพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนสั่งการผสมสีในทุกครั้ง
ส่วนประกอบของสีและประเภทของสี
kruchang บันทึก "ในปัจจุบันสีมีบทบาทสำคัญต่องานเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ารอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นตึกราม บ้านช่อง รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ฯลฯ ล้วนแต่เคลือบผิวด้วยสีทั้งสิ้น การเคลือบสีผิวผลิตภัณฑ์ นอกจากจะทำให้ดูสวยงาม น่าซื้อ น่าใช้แล้ว สีบางชนิดยังช่วยป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิม และไม่ให้เกิดการผุกร่อนได้อีกด้วย
ส่วนประกอบของสี
ส่วนประกอบที่สำคัญของสีมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ เนื้อสี ( Pigment ) ตัวยึดหรือกาว (Binder ) และตัวทำละลาย ( Solvent )
1. เนื้อสี ( Pigment ) เนื้อสีจะมีลักษณะเป็นผงละเอียด มีสีต่างๆ ตามต้องการ เนื้อสีจะมีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1.1 ผงพื้นสี มีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายกับแป้งฝุ่น มีอำนาจการปิดบัง และปกคลุมผิวเบื้องล่าง โดยปกติผงพื้นสีจะทำจาก ผงตะกั่วขาว - แดง
1.2 ผงแม่สี คือผงสีละเอียดที่ใช้ผสมกับผงแม่สี เพื่อให้เกิดเป็นสีต่างๆ ตามต้องการ ส่วนใหญ่จะได้จากแร่ธาตุ เช่น สีดำได้จากผงแกรไฟท์ สีเขียวได้จากคอปเปอร์ซัลเฟต สีแดงได้จาผงตะกั่วแดง สีน้ำเงินได้จากผงโคบอลท์ ฯลฯ
2. ตัวยึด หรือกาว (Binder ) กาวที่ใช้ผสมสีมีมากมายหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติจับตัวกับเนื้อสี และเกาะตัวกับชิ้นงานรองรับได้ดี กาวจะมีลักษณะเป็นของเหลวใส ถ้าปราศจากเนื้อสีเมื่อกาวแห้งจะมีลักษณะเป็นของแข็งโปร่งใส นอกจากจะเป็นตัวเกาะยึดระหว่างสีกับชิ้นงานแล้ว กาวยังเป็นตัวเพิ่มความมัน เงางามให้กับเนื้อสีอีกด้วย
3. ตัวทำละลาย ( Solvent ) เป็นตัวทำละลายที่มีลักษณะเป็นของเหลวใสคล้ายน้ำ เป็นตัวช่วยให้เนื้อสีกับกาวผสมกันได้ดี เป็นตัวทำให้เนื้อสีและกาวเจือจางเป็นของเหลวใส สามารถทำการพ่น หรือทาได้ด้วยแปรง เมื่อสีแห้งตัวทำละลายจะหายไปหมด เหลืออยู่แต่เนื้อสีและกาวติดอยู่ ตัวทำละลายที่ใช้ ได้แก่ น้ำมันสน ( Terpentine ) น้ำมันทินเนอร์ (Thinner )
ประเภทของสี
สีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมปัจจุบัน แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้หลายชนิด ด้วยกันตือ
1. สีน้ำมัน ( Oli Paint ) เป็นสีที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป มีราคาไม่แพงนัก ส่วนใหญ่สีชนิดนี้จะใช้ทาอาคารบ้านเรือนในส่วนที่เป็นเหล็กและไม้ เป็นสีที่ใช้ทาหรือพ่นได้ง่าย หลังจากทาแล้วเพียง 4 - 5 ชั่วโมง สีจะแห้งสนิท ตัวทำละลายที่ใช้กับสีน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสน
ยังมีสีน้ำมันอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าสีพื้น ( Primer ) หรือสีกันสนิม ( Red Oxide Primer )เป็นสีที่มีคุณสมบัติในการเกาะตัวกับโลหะได้ดี สีชนิดนี้ใช้ผงพื้นสีจำพวก เหล็กอ๊อกไซด์ หรือตะกั่วแดง เหมาะที่จะใช้ทารองพื้นเหล็กก่อนที่จะทาสีทับหน้าต่อไป
2. สีน้ำ หรือสีพลาสติก ( Water Paint or Plastic Kmultion Paint ) เป็นสีที่ผสมพลาสติกพวก โพลีไวนิลอาซีเตท ( Polyvinyl Acetate ) หรือที่เรียกว่า P.V.A. ซึ่งคุณสมบัติคล้ายกาวละลายน้ำได้ เกาะติดกับวัสดุต่างๆ ได้ดีมาก แข็งตัวภายในเวลา 2 ชั่วโมง ตัวทำละลายที่ใช้กับสีพลาสติก ได้แก่ น้ำ สีประเภทนี้ใช้ทาอาคารคอนกรีตทั้งภายในและภายนอก
3. สีเคลือบ (Knamel) เป็นสีที่เกิดจากการผสมเนื้อสีกับน้ำมันวานิช มีคุณสมบัติคงทนต่อแสงแดดเป็นพิเศษ มีความมันเงางาม ใช้ได้ทั้งทาและพ่น ส่วนใหญ่ใช้สำหรับพ่นรถยนต์ มีทั้งชนิดแห้งช้าและแห้งเร็ว ชนิดแห้งช้าจะต้องอบด้วยความร้อน เพื่อให้สีสุกและติดแน่น ตัวทำละลายที่ใช้ได้แก่ น้ำมันทินเนอร์
4. สีอุดพลาสติก ( Plastic Filler ) ในสมัยก่อน การเติมรอยชำรุดของโลหะที่จะทำการพ่นสี จะใช้วิธีการบัดกรีด้วยตะกั่วเข้าไปเพิ่มเนื้อที่ให้เต็ม ซึ่งวิธีนี้จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบันการซ่อมผิวงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อใช้สีอุดพลาสติก เพราะสีอุดพลาสติกนี้จะแข็งตัวภายในเวลา 15 - 30 นาที สามารถซ่อมผิวงานบริเวณกว้างๆ ได้ เช่น งานซ่อมตัวถัง รถยนต์ ฯลฯ
สีอุดพลาสติกเมื่อเวลาจะใช้งาน จะต้องใช้คู่กับน้ำยาที่ทำให้สีอุดพลาสติกแห้งตัวเร็ว น้ำยาที่ใช้เรียกว่า Hardener ถ้าไม่ผสมน้ำยานี้ สีจะแข็งตัวช้า ถ้าผสมน้ำยามาก สีก็จะแข็งตัวเร็ว สีเมื่อผสมน้ำยาแล้วจะต้องใช้ให้หมดภายในเวลา 2 นาที สีชนิดนี้ เมื่อแข็งตัวแล้ว สามารถ ตบแต่งผิวให้เรียบได้ด้วยกระดาษทราย แล้วจึงทำการทาสีหรือพ่นสีต่อไป
5. แลคเคอร์ ( Lacquer ) นับว่าเป็นสีเคลือบไม้ชนิดหนึ่งที่แห้งเร็ว คือจะแข็งตัวภายในเวลา 15 - 20 นาที แลคเคอร์ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีความแข็ง และมีความมันเงางาม เนื้อสีใส เมื่อถูกทาลงบนพื้นไม้หรือวัสดุอื่นๆ สารละลายจะระเหยออกทิ้งแผ่นฟิลม์บางๆ ฉาบผิววัสดุนั้น เนื่องจากแลคเคอร์มีเนื้อใส จึงสามารถมองเห็นพื้นผิวเดิมของวัสดุนั้น แลคเคอร์เหมาะกับงานพวกเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการให้เห็นลายไม้เดิม โดยใช้การทาหรือพ่นก็ได้ ตัวละลายที่ใช้กับแลคเคอร์ได้แก่ ทินเนอร์ "
ขั้นตอนการทาสี
27/09/2008
View: 21,354
Edit TitleEdit Detail
1. งานปูน
สียืดหยุ่น
เนื้อสีมีคุณสมบัติที่มีความเหนียวยืดหยุ่นได้ดี สามารถปกปิดรอยแตกลายงาได้อย่างดี
สามารถป้องกันน้ำซึมผ่านฟิลม์สีได้ เนื้อสีกึ่งเงา สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย สามารถใช้ได้
ทั้งภายนอกและภายในอาคาร และมีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อราได้ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น 1ชั้น
ทั้งปูนเก่า และปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นของสียืดหยุ่น ผสมกับ ทินเนอร์เฉพาะ อัตราส่วน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 5 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีทับหน้า 2 ชั้น
ทาด้วยสียืดหยุ่นโดยไม่ต้องผสมน้ำ แต่หากต้องการผสมเพื่อความสะดวกในการทา ให้ผสมกับ น้ำ อัตราส่วน 5-10% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 5 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง
สีทาภายนอกอาคาร
สี Solvent Base ทาภายนอกอาคาร
เป็นสีที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรง เช่นบริเวณชายทะเลได้อย่างดียิ่ง
หรือสามารถใข้กับงานที่ต้องการสีสันคงทนเป็นพิเศษ เนื้อสีกึ่งเงา อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว น้ำ
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
q ขัดลอกสีเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยผ้าทรายเบอร์ 2 1/2 และน้ำยาลอกสี
q ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น
ทั้งปูนเก่า และปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นผสมกับ อัตราส่วนน้ำมันสน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีทับหน้า
ทาด้วยสีโดยผสมทินเนอร์เฉพาะ แต่หากต้องการความประหยัด สามารถใช้ทินเนอร์ทั่วไป โดยผสม อัตราส่วน 5-10% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
สีน้ำพลาสติกทั่วไป
ทั้งภายนอกและภายในอาคาร อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
q ขัดลอกสีเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยผ้าทรายเบอร์ 2 1/2 และน้ำยาลอกสี
q ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น 1ชั้น
q ปูนเก่า ทาด้วยสีรองพื้นปูนเก่า ผสมกับ น้ำมันสน อัตราส่วนน้ำมันสน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
q ปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นปูนใหม่ ผสมกับ น้ำ อัตราส่วนน้ำ 25-30% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีทับหน้า 2 ชั้น
ทาสีโดยผสมน้ำ แต่หากต้องการผสมเพื่อความสะดวกในการทา ให้ผสมกับ น้ำ อัตราส่วน 5-30% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง
Paint Tipsการทาสีน้ำชนิดอครีลิค บนสายไฟ สีจะไม่แห้งดี ควรหลีกเลี่ยง หรือทารองพื้นด้วยสีน้ำชนิดโคโพลีเมอร์ก่อน
สีทาในอาคาร
สีลวดลายวอลเปเปอร์
เป็นระบบสีที่สามารถสร้างให้เกิดลวดลายบนผนังได้อย่างสวยงามด้วยวิธีง่ายๆ โดยในการใช้สีวอลเปเปอร์ จะมี
สี 3 ส่วนคือ สีพื้น 2. สีสลับลาย 3. สี(น้ำยาเคลือบเงาผิว ซึ่งเมื่อทาเสร็จแล้ว ก็จะได้เนื้อสีกึ่งเงา อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี ลูกกลิ้งสร้างลาย กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
q ขัดลอกสีเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยผ้าทรายเบอร์ 2 1/2 และน้ำยาลอกสี
q ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น 1ชั้น
q ปูนเก่า ทาด้วยสีรองพื้นปูนเก่า ผสมกับ น้ำมันสน อัตราส่วนน้ำมันสน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
q ปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นปูนใหม่ ผสมกับ น้ำ อัตราส่วนน้ำ 25-30% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีพื้น
ทาด้วยสีพื้น ผสมกับ น้ำ อัตราส่วนน้ำ10% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 1-2 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีสลับลาย
ทาสีสลับลายด้ายลูกกลิ้งธรรมดาโดยไม่ต้องผสมน้ำ 1 เที่ยว แล้วจึงนำลูกกลิ้งสร้างลายมาทาสีสลับลายให้พออิ่มตัว นำลูกกลิ้งสร้างลายไปกลิ้งบนกระดาษเพื่อขจัดสีส่วนเกินออก แล้วจึงนำไปกลิ้งทับลงบนสีสลับลายในขณะที่ยังเปียกอยู่โดยไม่ต้องให้รอให้สีสลับลายแห้ง โดยทาในแนวดิ่ง และทาทแยง 45 องศา (โปรดอ่านคำแนะนำและวิธีการสร้างลาย ตามวิธีการสร้างลายของอุปกรณ์แต่ละชนิดประกอบด้วย) ทิ้งให้แห้งข้ามคืนหรือ 12 ชั่วโมง จึงทาสีเคลือบเงา
การทาสีเคลือบเงา
ทาสีเคลือบเงาเพื่อความเงางาม คงทน ทาโดยไม่ต้องผสมน้ำ ทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง
--------------------------------------------------------------------------------
2. สีน้ำมัน
สีน้ำมันเป็นสีที่เหมาะกับงานประเภทงานเหล็ก งานไม้ และงานโลหะ โดยทั่วไปสีน้ำมันจะมีความเงางามสูงมาก
แต่ก็มีสีน้ำมันที่ผลิตเป็นชนิดด้านด้วยเช่นกัน แต่สีน้ำมันชนิดด้านจะมีเฉดสีให้เลือกน้อยกว่ามาก และมีราคาสูงกว่า
สีน้ำมันทั่วไป ในการทาสีที่งานไม้สีน้ำมันจะไม่โชว์ลายไม้ให้เห็น อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเหล็ก
q เหล็กใหม่ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่น ผง สนิม และคราบไข ด้วยกระดาษทรายน้ำขัดเหล็ก
q หลังจากนั้นให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นกันสนิม โดยใช้สีกันสนิมผสมกับน้ำมันซักแห้งเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 5-6 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้า (หากต้องการให้ประสิทธิภาพในการกันสนิมสูงขึ้นควรทาสีกันสนิม 2 เที่ยว
q เหล็กเคยทาสีทาแล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทรายน้ำเบอร์ 150-240-320 ตามความละเอียดของงาน หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วทำความสะอาดให้ปราศจากสนิม หากสียังอยู่ในสภาพดีให้ใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 180-220 ลูบเพื่อให้เกิดความหยาบ
q หลังจากนั้นให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นกันสนิม โดยใช้สีกันสนิมผสมกับน้ำมันซักแห้งเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 5-6 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้า (หากต้องการให้ประสิทธิภาพในการกันสนิมสูงขึ้นควรทาสีกันสนิม 2 เที่ยว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวไม้
q ไม้ใหม่ ควรไสหรือ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้ ด้วยกระดาษทราย และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข
q หากไม้มียาง ให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นไม้อลูมิเนียม เพื่อกันยางไม้ทำลายสี โดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีกันเชื้อรา
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
q ไม้เคยทาสีแล้ว แล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทราย เบอร์ หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วทำความสะอาด หากสียังอยู่ในสภาพดีให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ ลูบเพื่อให้เกิดความหยาบ
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวโลหะอลูมิเนียม สังกะสี
q ให้ทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นผง และคราบไข และหากมีสีเดิมให้ขัดออกให้เรียบร้อย
q แล้วใช้น้ำยารองพื้นวอชไพร์เมอร์ เพื่อปรับสภาพพื้นผิวเพิ่มการยึดเกาะ โดยนำน้ำยา 2 ส่วนมาผสมกัน ในอัตราส่วนตามที่ระบุไว้ในแต่ละยี่ห้อ แล้วจึงนำมาทาบนพื้นผิว และรอให้แห้ง 4-5 ชั่วโมง จึงทาสีรองพื้นกันสนิม ซิงค์โครเมต
q ทาสีรองพื้นกันสนิม ซิงค์โครเมต โดยผสมกับน้ำมันซักแห้ง แล้วรอให้แห้ง 4-5 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าได้
การทาสีทับหน้า
หลังจากรองพื้นแล้ว ให้ทาสีทับหน้าโดยนำสีน้ำมัน ผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง 8-10 ชั่งโมง จึงทาสีทับอีก 1 ชั้น ทิ้งให้แห้ง อีก 8-10ชั่วโมง (หากต้องการพื้นผิวด้านโดยใช้วิธีผสมสีกับหัวเชื้อด้าน ให้ผสมหัวเชื้อด้านกับสีน้ำมันในการทาเที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วน สีน้ำมันผสมกับหัวเชื้อด้าน 25% ในกรณีต้องการความด้าน 100% )
--------------------------------------------------------------------------------
3. สีงานผนัง วงกบ ประตู หน้าต่างไม้
สีย้อมไม้ และรักษาเนื้อไม้
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความคงทนสูง และตัวสีซึมเข้าไปในเนื้อไม้ช่วยรักษาเนื้อไม้ได้อย่างดี ลักษณะสีเป็นการโชว์ลายไม้
โดยมีให้เลือกทั้งชนิดกึ่งเงา และชนิดเงา สีชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่ฝาผนังบ้าน วงกบ ประตู หน้าต่างไม้
การใช้งานใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยไม่ต้องใช้สีรองพื้นใดๆ อุปกรณ์
แปรงแชล็ก (ขนกระต่าย) หรือแปรงทาสีทั่วไป
การเตรียมพื้นผิว
q ไม้ใหม่ ควรไสหรือ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3 แล้วขัดเก็บงานละเอียดด้วยเบอร์ 1 และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข
q ไม้เคยทาสีแล้ว แล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทราย เบอร์ หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วขัดสีเก่าให้ออกจนถึงเนื้อไม้เดิม แล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
การทาสีย้อมไม้
การทาสีย้อมไม้ จะไม่ต้องรองพื้นก่อนเพื่อให้สีซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดี โดยสามารถทาได้หลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จทันที การทาไม่ต้องผสมน้ำมันไดๆทั้งสิ้น แต่หากจำเป็นต้องผสม เช่นอากาศร้อนจัด ให้ใช้น้ำมันทินเนอร์ผสมเฉพาะของแต่ละยี่ห้อ หรือใช้น้ำมันสน ตามอัตราส่วน 5-10%หรือตามที่ระบุ โดยทาตามแนวลายไม้ ทิ้งไว้ให้แห้ง 8-10 ชั่วโมงจึงทาทับได้ โดยปกติจะทาสีย้อมไม้ประมาณ 2-3 เที่ยว (หากต้องการพื้นผิวด้านโดยใช้วิธีผสมสีย้อมไม้กึ่งเงากับหัวเชื้อด้าน ให้ผสมหัวเชื้อด้านกับสีในการทาเที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วน สีผสมกับหัวเชื้อด้าน 25% ในกรณีต้องการความด้าน 100%)
สีน้ำทาไม้
เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มสีน้ำที่ผลิตมาเพื่องานไม้โดยเฉพาะ ลักษณะสีเป็นสีชนิดด้านที่ไม่โชว์ลายไม้ สีชนิดนี้เหมาะกับ
การใช้งานที่ฝาผนังบ้าน วงกบ ประตู หน้าต่างไม้ การใช้งานใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคา อุปกรณ์ แปรงทาสีทั่วไป ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว
q ไม้ใหม่ ควรไสหรือ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3 แล้วขัดเก็บงานละเอียดด้วยเบอร์ 1 และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข
q หากไม้มียาง ให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นไม้อลูมิเนียม เพื่อกันยางไม้ทำลายสี โดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีกันเชื้อรา
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
q ไม้เคยทาสีแล้ว แล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทราย เบอร์ หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วทำความสะอาด หากสียังอยู่ในสภาพดีให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 2 ลูบเพื่อให้เกิดความหยาบ
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
การทาสีน้ำทาไม้ทับหน้า 2 ชั้น
ทาสีโดยผสมน้ำ แต่หากต้องการผสมเพื่อความสะดวกในการทา ให้ผสมกับ น้ำ อัตราส่วน ประมาณ 20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง
Paint Tips สีย้อมไม้บางชนิดสามารถทาทับด้วยยูริเทนได้
--------------------------------------------------------------------------------
4. สีงานพื้นไม้
ยูริเทน อุปกรณ์
แปรงแชล็ก (ขนกระต่าย) กระดาษทรายละเอียด
การเตรียมพื้นผิว
q ไม้ใหม่ ใช้ดินสอพอง สีฝุ่น และน้ำ ผสมให้เข้ากันโป๊วแต่งให้สีใกล้เคียงเนื้อไม้ ให้เรียบร้อย เพื่ออุดรอยเสี้ยนไม้ จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 10-30 นาที แล้วขัดทำความสะอาดพื้นผิวก่อนการเคลือบด้วยกระดาษทรายละเอียด และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข จากนั้นรองพื้นด้วยน้ำยารองพื้นยูริเทนวูดซีลเลอร์ โดยไม่ต้องผสมทินเนอร์ ทิ้งให้แห้ง 1-2 ชั่วโมงแล้วขัดด้วยกระดาษทรายน้ำละเอียด
q ไม้เคยทายูริเทนแล้วหากไม่มีการแตกล่อนของแผ่นฟิล์ม ให้ล้างทำความสะอาดให้หมดคราบไข แล้วขัดด้วยกระดาษทรายขัดยูริเทนให้เรียบ และทำความสะอาดให้ขจัดความสกปรกและฝุ่นละออง
q ไม้เคยทายูริเทนแล้วแต่แตกล่อน หรือเคยทาสีประเภทอื่นๆมาก่อน ให้ขัดผิวทั้งหมดออกจนถึงเนื้อไม้เดิม ด้วยกระดาษทรายสำหรับขัดยูริเทนโดยใช้น้ำประกอบการขัด เพื่อให้สามารถขัดออกได้ง่ายขึ้น
q ข้อควรระวัง
Ø ไม่ควรใช้แชลก หรือแลกเกอร์ซีลเลอร์รองพื้นเพราะจะทำให้เกิดการลอกพอง
Ø หากต้องการย้อมสีไม้ไม่ควรย้อมสีไม้ด้วยฝุ่นสีและแชลก เนื่องจากจะขวางกั้นการยึดเกาะ แต่สามารถใช้สีย้อมไม้ร่วมกับยูริเทนบางชนิดได้
Ø ไม่ควรใช้น้ำยาลอกสีในการลอกสีเก่าของไม้ เนื่องจากน้ำยาลอกสีจะทำให้การยึดเกาะของยูริเทนทำได้ไม่สมบูรณ์
การทายูริเทน
ทาหรือพ่นเคลือบผิวไม้โดยผสมกับทินเนอร์ยูริเทนโดยเฉพาะ โดยผสมยูริเทน 3 ส่วนต่อทินเนอร์ 1 ส่วน ทิ้งให้แห้ง 4-8 ชั่วโมง แล้วลูบด้วยกระดาษทรายละเอียด และทำความสะอาด แล้วจึงทาทับในเที่ยวที่ 2 โดย ผสม ยูริเทน 4 ส่วน ต่อทินเนอร์ 1 ส่วน ทิ้งให้แห้ง 4-8 ชั่วโมง หากต้องการการเคลือบผิวที่ดีก็ทาทับได้อีกชั้น โดยลูบกระดาษทรายละเอียดและทำความสะอาดก่อนลงชั้นที่ 3 (หากต้องการพื้นผิวให้ผสมหัวเชื้อด้านกับยูริเทนในการทาเที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วน สีผสมกับหัวเชื้อด้าน 25% ในกรณีต้องการความด้าน 100% )
--------------------------------------------------------------------------------
5. สีงานฟอร์นิเจอร์ไม้
แลคเกอร์ เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความเงางามของฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นกลุ่มสีแห้งเร็ว ใช้ทาหรือพ่นเพื่อความเงางาม
ลักษณะสีจะเป็นสีใสเพื่อโชว์ลายไม้ อุปกรณ์
แปรงแชล็ก หรือแปรงขนกระต่าย หรือเครื่องพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไข ขัดเสี้ยนไม้ให้เรียบ หากต้องการย้อมสีไม้ด้วยสีฝุ่นและดินสอพองก็สามารถทำได้ (ไม่สามารถใช้ร่วมกับสีย้อมไม้ได้)
การทาสี
ทาแลกเกอร์บางๆโดยผสมทินเนอร์แลกเกอร์ หรือ ทินเนอร์ AAA อัตราส่วน1 ต่อ 1 หลังจากนั้นรอให้แห้ง 5-10 นาที จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2-3 เที่ยว
--------------------------------------------------------------------------------
6. สีพ่นอุตสาหกรรม
เป็นสีกลุ่มสีน้ำมัน ให้ความเงางาม เมื่อพ่นหรือทาแล้วจะไม่โชว์ลายไม้ เป็นกลุ่มสีแห้งเร็ว ใช้สำหรับ
งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ อุปกรณ์
แปรงทาสี หรือเครื่องพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไข ขัดเสี้ยนไม้ให้เรียบ แล้วทาหรือพ่นสีรองพื้นด้วย สีพ่นพื้นเทา 1 เที่ยว โดยผสมทินเนอร์แลกเกอร์ หรือทินเนอร์ AAA อัตราส่วน1 ต่อ 1 แล้วรอให้แห้ง 5-10 นาที จึงพ่นสีทับได้
การทาสี
ทาหรือพ่นบางๆโดยผสมทินเนอร์แลกเกอร์ หรือทินเนอร์ AAA อัตราส่วน1 ต่อ 1 หลังจากนั้นรอให้แห้ง 5-10 จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2-3 เที่ยว
--------------------------------------------------------------------------------
7. กลุ่มสีทาถนน สีทากระเบื้องหลังคา
สีทาถนน
เป็นสีที่มักใช้ในการทาเส้นแบ่งช่องทางจราจร ทาเส้นแบ่งลานจอดรถ ฟุตบาท สีชนิดนี้มีให้เลือกทั้งแบบสะท้อนแสง
และแบบไม่สะท้อนแสง อุปกรณ์
แปรงทาสี หรือเครื่องมือพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไข
การทาสี
ทาสีทาถนน โดยผสมทินเนอร์เล็กน้อย หลังจากนั้นรอให้แห้ง จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2-3 เที่ยว
สีทากระเบื้องหลังคา และสนามเทนนิส
เป็นสีที่ผลิตมาเพื่อใช้ในการทากระเบื้องหลังคาโดยเฉพาะ มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศสูง
และสามารถใช้ในการทาสนามเทนนิส และบล็อกปูถนนได้อีกด้วย อุปกรณ์
แปรงทาสี หรือเครื่องมือพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไขด้วยการล้าง และเช็ดให้สะอาด หากมีสีเก่าควรขัดลอกสีออกก่อน
การทาสี
ทาสี โดยผสมน้ำเล็กน้อย ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 หลังจากนั้นรอให้แห้ง 3-5 ชั่วโมง จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2 เที่ยว (หากใช้การพ่นให้ผสมสีกับน้ำ อัตราส่วน 2 ต่อ 1)
เครื่องมือ-อุปกรณ์ที่ใช้ในงานสี
เนื้อหาในส่วนนี้ เป็นรายละเอียดในส่วนของงานสี โดยรวมเอาอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนิยมใช้บ่อยๆ ในงานเฟอร์นิเจอร์
1. แปรงขนม้า เหมาะกับงานทาที่ไม่ต้องการความละเอียดนัก เพราะขนแปรงจะเส้นใหญ่ และการทาลงบนงานจะเกิดริ้วรอยหรือทางแปรงบ้าง เหมาะกับงานทาทั่วไปเช่นทาน้ำยากันปลวก สีน้ำฯ หลังเลิกงานควรล้างแปรงทุกครั้ง
2. แปรงขนกระต่าย-แปรงซี่หรือแปรงตับ ใช้ทาแชลก-แลคเกอร์ เหมาะกับงานทาที่ละเอียด เพราะขนแปรงจะมีความอ่อนนุ่ม เส้นเล็ก และการทาลงบนงานจะไม่เกิดริ้วรอยหรือทางแปรง เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ หลังเลิกงานควรล้างแปรงทุกครั้ง
3. เกรียงเหล็ก ใช้สำหรับการโป๊วในผิวหน้าที่ต้องการความเรียบ แผ่นเหล็กจะบางปลายตรง และเรียบเหมาะกับการปาดหรืออุดให้สีโป๊วเรียบเสมอกับผิวหน้า
4. เชลแลคขาว มีลักษณะเป็นผง เวลาใช้ต้องมาหมักกับแอลกอฮอล์ ให้ละลายเข้ากัน ในภาชนะที่ไม่เป็นโลหะ และเก็บไว้ในที่อับแสง เป็นตัวรองพื้นก่อนการทาแลคเกอร์ ช่วยการจับยึดเกาะผิวหน้าและป้องกันการซึมออกมาของยางไม้ได้ ในระดับหนึ่ง
โป๊วพลาสติก
5. โป๊วรถยนต์
เป็นตัวโป๊วที่นิยมใช้กับงานที่ต้องพ่นทับ ไม่โชว์ลายไม้ เช่นสีพ่น เป็นต้น การใช้ต้องมีตัวเร่งให้แข็ง(Hardenner) ถ้าต้องการให้แข็งตัวช้าก็ผสมตัวเร่งแต่น้อย
6. โป๊วเหลือง เป็นตัวโป๊วที่นำใช้กับงานกึ่งเปิด และเปิดลายไม้ได้ดี มีลักษณะเหลว ใช้ง่าย แห้งไม่เร็วนัก
โป๊วแดง
7. โจมาร์
เป็นตัวโป๊วอีกตัวหนึ่ง ที่นิยมมากเช่นกัน สำหรับพวกสีพ่น ที่ปิดลายไม้ มีเนื้อเหลว แห้งตัวช้า นิยมมาพี้ลงในร่องเสี้ยน ด้วยคุณสมบัติที่เหลวตัวนั่นเอง
ความปลอดภัยในการทำงาน
ในการปฏิบัติงานในโรงงานสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ คือ ความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงใน
ที่จะได้รับอันตรายในการทำงาน หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบ และเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง
นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง เสียง สิ่งเหล่านี้หากมี
ความบกพร่องและผิดมาตรฐานที่กำหนดไว้
ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นความพอใจอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายควรมีแก่กัน ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการทำงาน เราควรฝึก
เสียตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีความรู้และความเข้าใจแล้วนั่นหมายความว่าตลอดชีวิตของการทำงานจะไม่ประสบอันตราย
ความปลอดภัยในการทำงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่ง
ก็คือสภาพการทำงานให้ถูกต้องโดยปราศจาก "อุบัติเหตุ" ในการทำงาน
อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สิน
เสียหาย หรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
1. อุบัติเหตุกับการทำงาน
อุบัติเหตุและการทำงานมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันเสมอ กล่าวคือ ในขณะที่เราทำงานนั้นจะมีอุบัติเหตุแอบแฝงอยู่ และเมื่อใด
ที่เราประมาท อุบัติเหตุก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันทีซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.1 ตัวบุคคล คือ ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่าง ๆ และเป็นตัวสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
1.2 สิ่งแวดล้อม คือ ตัวองค์การหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่
1.3 เครื่องมือ เครื่องจักร คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
2. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
2.1 สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อันได้แก่ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในการทำงานที่เสื่อมคุณภาพ พื้นที่
ี่ทำงานสกปรกหรือเต็มไปด้วยของที่รกรุงรัง ส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักรไม่มีที่กำบังหรือป้องกันอันตราย การจัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ เป็นต้น
2.2 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย เป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่
ปลอดภัย อันได้แก่
- สาเหตุที่คนกระทำการอันไม่ปลอดภัย เพราะ
1. ไม่มีความรู้เพียงพอ จึงทำงานแบบลองผิดลองถูก
2. ขาดการฝึกอบรมหรือชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้องในการทำงาน
3. มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรักษาความปลอดภัย (ประเภทพูดเท่าไหร่ไม่เชื่อ บอกเท่าไร ไม่ฟัง)
- คนเรากระทำการอันไม่ปลอดภัยได้ เพราะ
1. ไม่ทราบแน่ชัด
2. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
3. ประมาท เลินเล่อ
4. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
5. อารมณ์ไม่ปกติ เช่น กำลังโกรธเพื่อนร่วมงาน
6. รีบร้อนเพราะงานต้องการความรวดเร็ว
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
4.1 ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวผู้ปฏิบัติงาน
4.1.1 การแต่งกาย
- เครื่องแบบที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร คือ เสื้อและกางเกงที่เป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งอยู่ใน
สภาพที่เรียบร้อย เสื้อผ้าที่ฉีกขาดไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้เข้าไปติดกับเครื่องจักรที่กำลังหมุนได้
- ติดกระดุมทุกเม็ดให้เรียบร้อย
- ไม่ควรใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ นาฬิกา แหวน
- ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้าบู๊ด เพื่อป้องกันเศษโลหะทิ่มตำ
- ควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา เช่น การเจียระไนงาน หรือแสงจากการเชื่อมโลหะ
- ควรสวมหมวกในกรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเคมี
- ไม่ควรไว้ผมยาวหรือมิฉะนั้นควรสวมหมวก
- สภาพการทำงานที่มีเสียงดัง ควรสวมที่ครอบหู
4.1.2 ความประพฤติตนโดยทั่วไป
- การเดินไป-มาในโรงงานควรระมัดระวังอยู่เสมอ
- ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต
- ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงานจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง
- ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในโรงงานโดยเคร่งครัด
4.2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี และให้เหมาะสมกับงานเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่ ค้อน ไขควง คีม ตะไบ เลื่อย อุปกรณ์ร่างแบบต่าง ๆ เช่น เหล็กขีด วงเวียน ฯลฯ
เครื่องจักรกลจัดเป็นเครื่องทุ่นแรง สามารถช่วยให้ทำงานได้ตามความต้องการ ประหยัดเวลา แรงงานและทำงานได้มากมาย
หลายอย่างในขณะเดียวกันถ้าไม่รู้จักใช้ อันตรายจากเครื่องจักรก็มีมากพอ ๆ กับประโยชน์ ของเครื่องจักรนั่นเอง และในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร สิ่งที่
ควรพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงานควรปฏิบัติดังเรื่องต่อไปนี้
- การถือเครื่องมือที่มีคมควรให้ปลายชี้ลงด้านล่าง หรือหาของหุ้มปิดเสีย เช่น วงเวียน เหล็กขีด อย่าเก็บหรือพกไว้ใน
กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง
- ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด เช่น ค้อนที่บิ่นหรือแตกเพราะจำทำให้เกิดความผิดพลาดขณะทุบหรือตีชิ้นงานได้
- การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้หล่นลงมาโดนคนที่อยู่ข้างล่างได้
- เมื่อจะเดินเครื่องจักร ผู้ใช้ต้องรู้เสียก่อนว่าจะหยุดเครื่องอย่างไร
- การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักรหรือเปลี่ยนสายพาน เฟือง จะต้องหยุดเครื่องและตัดสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง
- อย่าพยายามหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
- พึงระวังส่วนประกอบของเครื่องจักรที่อาจจะเป็นอันตรายได้ เช่น เฟือง สายพาน มีดกัดต่าง ๆ จะต้องมีฝาครอบ
หรือเครื่องป้องกันเอาไว้
- การยกของหนักอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ควรช่วยกันหรือใช้เครื่องมือยก และเมื่อยกของหนัก ๆ จากพื้น อย่าใช้
หลังยก ให้ใช้กล้ามที่ขายกแทน
- การยกของควรใช้กำลังกล้ามเนื้อที่ต้นขายก โดยยืนในท่าที่จะรับน้ำหนักได้สมดุลย์ คือ งอเข่า หลังตรง ก้มหน้า จับของ
ให้แน่นแล้วยืดขาขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงการยกของมีคม
- เมื่อยกขึ้นแล้วก่อนจะเดินจะต้องมองเห็นข้างหน้าและข้าง ๆ รอบตัว
อ้างอิง...wwwgoogle.com
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
ช่างปะปา
งานช่างประปา
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า คนในชนบทใช้น้ำ 150 ลิตรต่อคนต่อวัน คนในเมืองใช้น้ำ 440 ลิตรต่อคนต่อวัน น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ระบบการประปาได้แก่ การนำน้ำเข้ามาใช้ การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงหมายถึงความสะดวกสบาย สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา ระบบการระบายน้ำโสโครก สุขภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา การซ่อมบำรุงรักษา จึงเป็นสิ่งจำเป็น สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง
น้ำคือปัจจัยที่สำคัญใน การดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได่แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น
1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ
2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม
3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา
ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร
2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย
ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ
- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ
ชนิดถังเก็บน้ำ
0.ถังเก็บน้ำ ค.ส.ล. เป็นถังที่มีความแข็งแรงทนทานสามารถสร้างได้ทั้งแบบอยู่บนดิน และใต้ดิน แต่ทีน้ำหนักมาก การก่อสร้าง ต้องระวังเรื่องการรั่วซึม ดังนั้นต้องทำระบบกันซึมและต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย0.ถังเก็บน้ำสแตนเลส เป็นถังน้ำสำเร็จรูปโดยใช้โลหะสแตนเลสที่ไม่เป็นสนิม มีความทนทานต่อการใช้งาน นิยมติดตั้งเป็น ถังน้ำบนดิน0.ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูป ใช้วัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา รับแรงดันได้ดีและไม่เป็นพิษกับน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งบนดินและใต้ดิน0.ถังเก็บน้ำ PE (Poly Ethelyn) เป็นถังเก็บน้ำที่ใช้วัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ทำท่อน้ำประปา สามารถรับแรงดัน ได้ดีมีน้ำหนักเบา ใช้ติดตั้ง ได้ทั้งบนดินและ ใต้ดิน0.ถังเก็บน้ำสำเร็จรูปอื่นๆ ในสมัยก่อน นิยมถังเก็บน้ำที่เป็นเหล็กชุบสังกะสี รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ ถังจะผุกร่อนได้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ แล้วนอกจากนั้น ยังมีถังเก็บน้ำแบบโบราณ ที่เคยนิยมใช้มานาน ได้แก่ โอ่งน้ำขนาดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแบบดินเผา และแบบหล่อคอนกรีตการเลือกและออกแบบถังน้ำ จะต้องมีข้อคำนึงถึงคือ
ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของถังเก็บน้ำขนาดและจำนวนถังเก็บน้ำจะต้องมีปริมาณน้ำสำรองที่พอเพียงต่อการใช้งาน สำหรับบ้านพักอาศัยจะใช้น้ำที่ ประมาณ 200 ลิตร / คน / วันจะต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งถังเก็บน้ำสำหรับอาคารด้วยจะต้องมีความสะดวกสบายในการติดตั้ง การดูแลรักษาและทำความสะอาดระบบท่อที่เชื่อมต่อกับถังเก็บน้ำจะต้องดีมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่น น้ำรั่ว หรือชำรุดเป็นต้น
การเดินท่อน้ำเบื้องต้น
วิธีการเดินท่อประปา
โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้านจะมีอยู่2ชนิดคือ
1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญห าแต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อย และสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว
วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน
การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (Gavanize) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่สำคัญเมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้ว จะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดินจะซ่อมแซมยาก
วิธีการใช้สต๊อปวาล์วเมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์
โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์ว ในบริเวณส่วนที่ จ่ายน้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้
วิธีการตรวจสอบระบบประปา
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบ ร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น
การวางระบบท่อน้ำในที่นี้จะกล่าวถึงการวางท่อน้ำประปา หรือท่อน้ำดีเพื่อนำไปใช้ตามส่วนต่างๆ ของบ้านและการวางท่อน้ำ
ทิ้งจากจุดต่างๆ ของบ้านลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นการวางท่อแบบฝัง เพราะเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับอาคารบ้านเรือนใน
ปัจจุบัน และเป็นระบบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยง่ายหากทำไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก
ในช่วงก่อนท่อน้ำที่ใช้กันโดยทั่วไปตามบ้านจะเป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีซึ่งมีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะ
มีปัญหาเรื่องสนิม จึงเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้น้ำเพื่อการบริโภคจากท่อชนิดนี้ ต่อมามีการนำท่อน้ำที่ทำจากพลาสติกโพลีไวนิล
คลอไรด์ (PVC) หรือที่เรียกว่าท่อพีวีซีมาใช้แทนท่อเหล็กซึ่งก็มีผู้นำมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและไม่เป็นสนิม ต่อมา
วิวัฒนาการทางด้านพลาสติกมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ท่อพีวีซีที่ผลิตขึ้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ราคาไม่แพง
และยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด จึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามท่อน้ำที่ทำจากเหล็กก็
ยังคงใช้กันอยู่ในบางจุดที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น จุดที่ต้องรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก จุดที่ต้องรับความดันสูง หรือจุด
ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูงๆ เป็นต้น
หลักการต่อท่อ
1. สำรวจเส้นทางเดินท่อและบันทึกไว้อย่างละเอียด
2. พยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด และสะดวกในการใช้งานมากที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทาง เนื่องจากทำให้แรงดันน้ำลดลง
4. การขันเกลียวข้อต่อต่าง ๆ ไม่ควรขันแน่นเกินควร
5. การต่อท่อ P.V.C ควรเช็ดทำความสะอาด ก่อนทาน้ำยาประสาน
6. ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณ เช่น บริเวณที่เปียกชื้น ควรเดิน ท่อฝังดิน และควรใช้ท่อ P.V.C
7. หากท่อเมนประปาอยู่ไกล ควรใช้ท่อลดขนาด เช่น ท่อเมนย่อยขนาด 1 นิ้ว ท่อใช้งานภายในบ้านควรมีขนาด ½ นิ้ว เป็นต้น
การกำหนดขนาดความยาวของท่อ การกำหนดขนาดความยาวของท่อที่นิยมมี 3 วิธี
1. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงปลายท่อ ไม่รวมข้อต่อ
2. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อ
3. กำหนดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่ออีกด้านหนึ่ง
หมายเหตุ
การตัดท่อเพื่อการประกอบนั้น จะตัดท่อให้มีความยาวตามขนาดที่กำหนดไม่ได้ จะต้องตัดให้สั้นกว่า โดยลบความยาวออกประมาณ ¼ นิ้ว เมื่อสวมข้อต่อแล้วจะได้ระยะตามที่ต้องการ
การต่อท่อโลหะ
1. จับท่อด้วยปากกาหรือประแจจับท่อให้แน่น ให้ปลายท่อยื่นออกมาเล็กน้อย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเกลียว
3. ใช้เทปพันเกลียวพันประมาณ 4 – 5 รอบ
4. หมุนข้อต่อเข้ากับท่อด้วยมือจนตึงก่อน ระวังอย่าให้ปีนเกลียว
5. ใช้ประแจจับท่อจับบริเวณข้อต่อ แล้วหมุนประมาณ 1 – 2 รอบให้ตึงพอดี ๆ
การต่อท่อพลาสติก
1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. ทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อ แล้วทดลองสวมดูเพื่อทดสอบความแน่น
3. ทาน้ำยาบริเวณผิวท่อด้านนอกและข้อต่อด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
4. ประกอบท่อเข้ากับข้อต่อโดยดันให้สุด กดไว้ประมาณ 10 วินาที
5. ตรวจสอบบริเวณรอยต่อว่าแน่นหรือไม่ แล้วเช็ดน้ำยาส่วนเกินออก
การต่อข้อต่อแบบเสียบ
1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. สวมเหล็กรัดเข้ากับปลายท่อที่จะต่อ เสียบข้อต่อเข้ากับปลายท่อดันจนสุด
3. เลื่อนเหล็กรัดมาที่ข้อต่อ ใช้ไขควงขันสกรูที่เหล็กรัดให้แน่น
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางท่อน้ำและอุปกรณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้อง
1. ท่อน้ำที่ใช้ควรมีการประทับข้อความบนตัวท่อเป็นระยะๆ โดยบ่งบอกถึงยี่ห้อของท่อน้ำหรือบริษัทผู้ผลิต บอกชั้นของท่อว่าเป็น ชั้น 13.5 , 8.5 , หรือ 5 บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และควรมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย
2. ท่อน้ำควรอยู่ในสภาพใหม่ ไม่มีรอยแตกหรือชำรุดมาก่อน และสีต้องไม่หม่นหมองผิดเพี้ยนไปมาก อันเนื่องมาจาก การเก็บรักษา ในสภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
3. ท่อน้ำที่ดีควรใช้ท่อสีฟ้า 13.5 ทั้งหมด ในขณะที่ท่อสำหรับระบายน้ำและสิ่งปฏิกูลตามจุดต่างๆภายในบ้าน โดยเฉพาะ
ท่อที่ต้อง เดินฝังอยู่ภายในเสา ผนังหรือพื้น ควรใช้ท่อสีฟ้าชั้น 8.5 เป็นอย่างน้อยเพื่อความทนทานในการใช้งาน
4. ในการเดินท่อแบบฝังภายในผนัง จุดปลายของท่อที่ยื่นออกจากผนังสำหรับติดตั้งวาล์วหรือก๊อกน้ำจะมีการติดตั้งข้อต่อ
ชนิดเกลียว ในไว้สำหรับสวมกับวาล์วหรือก๊อกน้ำในภายหลัง ข้อต่อดังกล่าวควรจะเป็นข้อต่อชนิดที่ทำด้วยเหล็กไม่ควรใช้ข้อต่อพลาสติก
เพื่อป้องกันการแตกชำรุดที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากต้องมีการเปลี่ยนหัวก๊อก เพราะจุดนี้จะทำการซ่อมแซมได้ลำบาก
5. สำหรับบ้านที่ใช้อ่างอาบน้ำโดยไม่มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนและมีการเดินท่อน้ำแบบฝังอยู่ภายในผนัง ท่อน้ำร้อนที่ฝัง อยู่ภายในผนัง ที่เชื่อมระหว่างตัวเครื่องทำน้ำร้อนที่อยู่ด้านบนกับวาล์วควบคุมการเปิดและปิดน้ำร้อนที่อยู่ด้านล่างตรงอ่างอาบน้ำควรใช้
ท่อเหล็กแทนการใช้ท่อพีวีซี เพื่อป้องกันการชำรุดของท่อที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนของน้ำ
6. ในการเดินท่อน้ำแบบฝัง ก่อนที่จะทำการเทพื้นหรือฉาบผนังทับตรงจุดที่มีการเดินท่อควรมีการทดสอบการไหลของน้ำ
และตรวจตรา อย่างถี่ถ้วนว่าท่อน้ำที่เดินไว้ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำประปาหรือท่อระบายน้ำทิ้งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีการรั่วซึม เพราะถ้า
หากเทปูนหรือฉาบปูนทับไปแล้วท่อน้ำเกิดการรั่วซึมขึ้นมาในภายหลังจะแก้ไขได้ยาก
วัสดุอุปกรณ์งานประปา
1. ท่อประปา เป็นอุปกรณ์สำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดต่าง ๆ ตามที่ต้องการใช้ หรือนำน้ำโสโครกออกไปจากบ้านเรือน ท่อประปาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อโลหะและท่อพลาสติก
- ท่อโลหะ ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี ทำด้วยเหล็ก เคลือบผิวด้วยดีบุกหรือสังกะสี สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี แข็งแรงทนทาน ในการติดตั้งต้องใช้ข้อต่อชนิดเกลียวและเทปพันเกลียวเพื่อช่วยป้องกันการรั่วของเกลียวบริเวณรอยต่อ
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆเช่นเครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน
- ท่อประปาพีวีซี (PVC) เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากในงานประปา เพราะราคาถูก ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา ผิวท่อมีความลื่นดี ทำให้น้ำหรือสิ่งสกปรกภายในท่อไหลออกจากท่อได้ดี การต่อท่อโดยใช้ข้อต่อและน้ำยาประสานเป็นตัวเชื่อม แต่บางทีข้อต่อท่ออาจจะใช้แบบสวมหรือแบบเกลียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ข้อต่อ
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง
- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC)
ท่อพีวีซี (PVC) แบ่งตามชนิดการใช้งานโดยใช้สีดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภทการใช้งาน(มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน
2. ข้อต่อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อท่อ มีขนาดต่าง ๆ กัน ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำประปาหรือน้ำโสโครก หรือใช้อุดปลายท่อเมื่อทางเดินท่อสิ้นสุดลง ข้อต่อจะมีทั้งแบบชนิดที่ทำด้วยโลหะและพลาสติก
3. ลิ้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ใช้สำหรับปิดกั้นหรือควบคุมการไหลของน้ำหรือแก๊สที่ไหลผ่านท่อให้ได้ตามที่ต้องการ ลิ้นทำด้วยบรอนซ์หรือเหล็กหล่อ ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไปจะทำด้วยบรอนซ์ แต่ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ ครึ่งนิ้วถึง 2 นิ้วจะทำด้วยเหล็กหล่อ ลิ้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นแบบเกทวาล์ว ( บางทีนิยมเรียกกันว่า ประตูน้ำ ) ลิ้นแบบบอลวาล์ว
4. มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านอาจวัดเป็นแกลลอน ลูกบาศก์ฟุต หรือลูกบาศก์เมตร โดยอ่านค่าจากหน้าปัทม์ของมาตรวัด ใช้ติดตั้งกับท่อเมนที่จ่ายน้ำก่อนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แบบดิสค์ (Disk Meters) เพราะมีความเที่ยงตรงสูง ใช้วัดในปริมาณน้อย ๆ มีขนาดตั้งแต่ 5/8 – 2 นิ้ว
5. ก๊อกน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดของท่อประปา สำหรับควบคุมการปิดเปิดการไหลของน้ำ ทำจากทองเหลืองหรือบรอนซ์ ชุบนิเกิลหรือโครเมี่ยม ปลายก๊อกส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรียบหรือแบบเกลียวสำหรับต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ ก๊อกน้ำแบ่งออกหลายประเภท ซึ่งมีรูปร่าง และประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน แต่ที่นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบกดอัดปิดและแบบไม่ใช้การกดอัดปิด
ก๊อกน้ำแบบกดอัดปิด เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในงานประปา ก๊อกน้ำแบบนี้ปิดเปิดด้วยวิธีการหมุนให้ลิ้นยางอัดลงบนบ่า ส่วนก๊อกน้ำแบบไม่ใช้การกดอัดปิด จะปิดเปิดโดยการใช้คันโยกเพียงอันเดียวผลักซ้ายขวาหรือดึงขึ้นลงเท่านั้น
6. เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ที่อำนวยความสะดวกสบายในการใช้น้ำ และเป็นอุปกรณ์รองรับ สิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ก่อน การระบายออกจากระบบประปา เครื่องสุขภัณฑ์มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยที่แตกต่างกัน เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจานชาม เป็นต้น
7. อุปกรณ์อื่น ๆ ในงานต่อท่อประปา
7.1 เทปพันเกลียว ( Teflon Tape ) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่าง ๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีล การรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย เพราะเทปพันเกลียวในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 4 สี คือ เขียว ฟ้า ดำ แดง ตลับสีเขียวบาง สั้น และขาดง่าย แต่ราคาถูก ตลับสีฟ้า บาง ยาว และขาดง่าย ส่วนตลับสีดำและแดง หนาและขาดยากกว่า แต่ราคาแพงกว่า วิธีพันเกลียว ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว
7.2 น้ำยาต่อท่อพลาสติก การต่อท่อพลาสติกอาจต่อด้วยน้ำยาต่อท่อหรือต่อด้วยแหวนยางก็ได้ แต่ที่นิยมคือการต่อท่อด้วยน้ำยาต่อท่อ ซึ่งน้ำยาต่อท่อนี้จะช่วยละลายให้ผิวท่อพลาสติกอ่อนตัวให้ละลายติดกัน การเลือกใช้น้ำยานั้นจะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของท่อพลาสติกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ไม่เหมือนกัน ท่อ P.V.C อาจจะต้องใช้น้ำยารองพื้นก่อนเพื่อให้ผิวท่อสะอาด น้ำยาต่อท่อจึงจะละลายผิวท่อได้ดี ซึ่งจะทำให้รอยต่อนั้นแข็งแรง
การต่อท่อ การต่อท่อเพื่อจ่ายน้ำ ระบายน้ำเสีย ระบายอากาศ หรือต่อเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ โดยวัสดุท่อชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ต้องคำนึงถึงความคงทนถาวร ประหยัด และประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด ดังนั้นงานต่อท่อจึงหมายถึง การวัดระยะท่อ การตัด การทำเกลียว การต่อท่อโดยไม่มีการรั่วไหล ระบบประปาที่ดีนั้นจะต้องมีการต่อให้น้อย้
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร )
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อน ๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุก ๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว และมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาดแต่ที่นิยมกันคือขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือทำแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผงชอล์กซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นเหล็ก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญคือ ใบเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน / นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนา ๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อตหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็ก ๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุดคือขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึดท่อ ขณะตัด คว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยเยินที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่ 1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องมือตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อ ในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา
น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านขบวนการต่างๆ มากมาย กว่าจะมาเป็นน้ำประปาให้แก่ประชาชน ได้นั้น มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน และต้องมีการลงทุนสูงมาก
การใช้น้ำประปาอย่างถูกวิธี
ตรวจสอบท่อประปา
หมั่นตรวจสอบระบบเส้นท่อ ก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ อย่าให้แตกรั่ว น้ำที่หยดมาเป็นหยดๆ จะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ บางครั้งถึงวันละ 400 ลิตร หรือ 20 ปี๊บ และบ่อยครั้งที่หยดเร็วต้องเสียน้ำถึงวันละ 3,000 ลิตร หรือ 150 ปี๊บ(3 ลูกบาศก์เมตร)
การอาบน้ำ
ควรอาบด้วยฝักบัว หรือใช้ขันตักอาบ จะประหยัดมากกว่าการอาบในอ่างอาบน้ำ อ่างอาบน้ำต้องใช้น้ำมากถึง 110 ลิตร/คน/ครั้ง แต่ถ้าอาบด้วยฝักบัว หรือตักอาบจะใช้เพียง 20 ลิตร/คน/ครั้ง
การล้างถ้วยชามภาชนะ
ทุกครั้งที่ล้าง ขอให้เปิดน้ำลงอ่าง แล้วจึงล้าง ถ้าจะให้สะอาดก็ล้าง 2 ครั้งซึ่งจะใช้น้ำ ประมาณ 25 ลิตรเท่านั้น อย่างล้างด้วยวิธีเปิดก๊อกน้ำตลอดเวลา เพราะจะเสียน้ำถึง135 ลิตร ใน 15 นาที
การล้างอาหาร ผัก ผลไม้
ควรมีภาชนะรองรับน้ำ เท่าที่จำเป็นในการล้างแต่ละครั้ง แทนการเปิดก๊อกล้างโดยตรง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า และยังสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วไปรดน้ำต้นไม้ ได้อีก
การซักผ้า
การซักผ้าแต่ละครั้งควรมีจำนวนมากพอควร เพราะการซักแต่ละครั้งจะสิ้นเปลืองน้ำสูงมาก ขณะซักอย่าเปิดน้ำจากก๊อกลงภาชนะตลอดเวลา เพราะเพียง 20 นาที ท่านอาจเสียน้ำถึง 180 ลิตร การซักผ้าด้วยเครื่องจะใช้น้ำประมาณ 130 ลิตร จึงควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอกับกำลังของเครื่อง
การเช็ดถู
ควรตักน้ำใส่ถัง แล้วเอาผ้าหรือเครื่องมือจุ่มลงไป ไม่ควรใช้น้ำจากสายยางโดยตรง เพราะจะเสียน้ำ ถึง 200 ลิตร ใน 5 นาที
การรดน้ำต้นไม้
ไม่ควรใช้สายยาง ควรใช้ฝักบัว ในการรดน้ำ จะประหยัดน้ำได้มาก
การล้างรถ
ควรใช้ไม้ขนไก่ลูบฝุ่นออกก่อน แล้วจึงล้างรถ โดยรองน้ำใส่ถัง นำมาเช็ดล้างอีกครั้ง ไม่ควรใช้สายยางฉีดล้างโดยตรง จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมาก และยังทำให้รถผุเร็วด้วย
ห้องสุขา
ถ้าเป็นห้องน้ำชายอย่างเดียว หรือชายหญิงรวมกัน ควรติดตั้งโถปัสสาวะชาย ไว้ด้วย แยกจากโถอุจจาระ เพราะการใช้น้ำชำระล้างปัสสาวะ จะใช้น้ำน้อยกว่ามาก และโถส้วมแบบตักราด จะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า แบบชักโครก หลายเท่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ ชักโครก ควรติดตั้งโถปัสสาวะและโถส้วม แยกจากกัน
การโกนหนวด
เมื่อโกนหนวดแล้วจึงใช้กระดาษชำระเช็ดออกทีหนึ่งก่อน แล้วจึงใช้น้ำใส่แก้วมาชำระล้างอีกครั้ง ควรล้างมีดโกนโดยการจุ่มล้างในแก้ว หรือขัน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า การล้างโดนตรงจากก๊อก
การแปรงฟัน
ควรใช้แก้วหรือขันรองน้ำ เพื่อใช้ในการแปรงฟัน หรือล้างแปรง แต่ละครั้ง ซึ่งจะใช้น้ำ1-2 แก้วก็พอ การแปรงฟันและล้างแปรง โดยตรงจากก๊อก ถ้าเปิดทิ้งไว้จะทำให้สูญเสียน้ำถึง 9 ลิตร ต่อนาที
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร )
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อน ๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุก ๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว และมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาดแต่ที่นิยมกันคือขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือทำแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผงชอล์กซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นเหล็ก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญคือ ใบเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน / นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนา ๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อตหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็ก ๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุดคือขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึดท่อ ขณะตัด คว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยเยินที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่ 1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องมือตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อ ในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
วัสดุอุปกรณ์งานประปา
1. ท่อประปา เป็นอุปกรณ์สำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดต่าง ๆ ตามที่ต้องการใช้ หรือนำน้ำโสโครกออกไปจากบ้านเรือน ท่อประปาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อโลหะและท่อพลาสติก
- ท่อโลหะ ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี ทำด้วยเหล็ก เคลือบผิวด้วยดีบุกหรือสังกะสี สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี แข็งแรงทนทาน ในการติดตั้งต้องใช้ข้อต่อชนิดเกลียวและเทปพันเกลียวเพื่อช่วยป้องกันการรั่วของเกลียวบริเวณรอยต่อ
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆเช่นเครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน
- ท่อประปาพีวีซี (PVC) เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากในงานประปา เพราะราคาถูก ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา ผิวท่อมีความลื่นดี ทำให้น้ำหรือสิ่งสกปรกภายในท่อไหลออกจากท่อได้ดี การต่อท่อโดยใช้ข้อต่อและน้ำยาประสานเป็นตัวเชื่อม แต่บางทีข้อต่อท่ออาจจะใช้แบบสวมหรือแบบเกลียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ข้อต่อ
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง
- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC)
ท่อพีวีซี (PVC) แบ่งตามชนิดการใช้งานโดยใช้สีดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภทการใช้งาน(มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน
2. ข้อต่อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อท่อ มีขนาดต่าง ๆ กัน ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำประปาหรือน้ำโสโครก หรือใช้อุดปลายท่อเมื่อทางเดินท่อสิ้นสุดลง ข้อต่อจะมีทั้งแบบชนิดที่ทำด้วยโลหะและพลาสติก
3. ลิ้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ใช้สำหรับปิดกั้นหรือควบคุมการไหลของน้ำหรือแก๊สที่ไหลผ่านท่อให้ได้ตามที่ต้องการ ลิ้นทำด้วยบรอนซ์หรือเหล็กหล่อ ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไปจะทำด้วยบรอนซ์ แต่ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ ครึ่งนิ้วถึง 2 นิ้วจะทำด้วยเหล็กหล่อ ลิ้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นแบบเกทวาล์ว ( บางทีนิยมเรียกกันว่า ประตูน้ำ ) ลิ้นแบบบอลวาล์ว
4. มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านอาจวัดเป็นแกลลอน ลูกบาศก์ฟุต หรือลูกบาศก์เมตร โดยอ่านค่าจากหน้าปัทม์ของมาตรวัด ใช้ติดตั้งกับท่อเมนที่จ่ายน้ำก่อนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แบบดิสค์ (Disk Meters) เพราะมีความเที่ยงตรงสูง ใช้วัดในปริมาณน้อย ๆ มีขนาดตั้งแต่ 5/8 – 2 นิ้ว
5. ก๊อกน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดของท่อประปา สำหรับควบคุมการปิดเปิดการไหลของน้ำ ทำจากทองเหลืองหรือบรอนซ์ ชุบนิเกิลหรือโครเมี่ยม ปลายก๊อกส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรียบหรือแบบเกลียวสำหรับต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ ก๊อกน้ำแบ่งออกหลายประเภท ซึ่งมีรูปร่าง และประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน แต่ที่นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบกดอัดปิดและแบบไม่ใช้การกดอัดปิด
ก๊อกน้ำแบบกดอัดปิด เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในงานประปา ก๊อกน้ำแบบนี้ปิดเปิดด้วยวิธีการหมุนให้ลิ้นยางอัดลงบนบ่า ส่วนก๊อกน้ำแบบไม่ใช้การกดอัดปิด จะปิดเปิดโดยการใช้คันโยกเพียงอันเดียวผลักซ้ายขวาหรือดึงขึ้นลงเท่านั้น
6. เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ที่อำนวยความสะดวกสบายในการใช้น้ำ และเป็นอุปกรณ์รองรับ สิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ก่อน การระบายออกจากระบบประปา เครื่องสุขภัณฑ์มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยที่แตกต่างกัน เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจานชาม เป็นต้น
7. อุปกรณ์อื่น ๆ ในงานต่อท่อประปา
7.1 เทปพันเกลียว ( Teflon Tape ) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่าง ๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีล การรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย เพราะเทปพันเกลียวในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 4 สี คือ เขียว ฟ้า ดำ แดง ตลับสีเขียวบาง สั้น และขาดง่าย แต่ราคาถูก ตลับสีฟ้า บาง ยาว และขาดง่าย ส่วนตลับสีดำและแดง หนาและขาดยากกว่า แต่ราคาแพงกว่า วิธีพันเกลียว ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว
7.2 น้ำยาต่อท่อพลาสติก การต่อท่อพลาสติกอาจต่อด้วยน้ำยาต่อท่อหรือต่อด้วยแหวนยางก็ได้ แต่ที่นิยมคือการต่อท่อด้วยน้ำยาต่อท่อ ซึ่งน้ำยาต่อท่อนี้จะช่วยละลายให้ผิวท่อพลาสติกอ่อนตัวให้ละลายติดกัน การเลือกใช้น้ำยานั้นจะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของท่อพลาสติกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ไม่เหมือนกัน ท่อ P.V.C อาจจะต้องใช้น้ำยารองพื้นก่อนเพื่อให้ผิวท่อสะอาด น้ำยาต่อท่อจึงจะละลายผิวท่อได้ดี ซึ่งจะทำให้รอยต่อนั้นแข็งแรง
การต่อท่อ การต่อท่อเพื่อจ่ายน้ำ ระบายน้ำเสีย ระบายอากาศ หรือต่อเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ โดยวัสดุท่อชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ต้องคำนึงถึงความคงทนถาวร ประหยัด และประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด ดังนั้นงานต่อท่อจึงหมายถึง การวัดระยะท่อ การตัด การทำเกลียว การต่อท่อโดยไม่มีการรั่วไหล ระบบประปาที่ดีนั้นจะต้องมีการต่อให้น้อย้
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร )
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อน ๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุก ๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว และมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาดแต่ที่นิยมกันคือขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือทำแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผงชอล์กซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นเหล็ก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญคือ ใบเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน / นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนา ๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อตหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็ก ๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุดคือขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึดท่อ ขณะตัด คว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยเยินที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่ 1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องมือตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อ ในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
การใช้และบำรุงรักษาปั้มสูบน้ำ
ระบบจะทำงานได้ดีตามที่ออกแบบไว้ และมีอายุการใช้งานยาวนานก็ต่อเมื่อ ได้มีการใช้งานอย่างถูกวิธี มีสภาพการทำงานตรงตามที่กำหนดไว้เมื่อออกแบบ และมีการบำรุงรักษาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องด้วย
การตรวจสอบหลังติดตั้ง
หลังจากที่ได้ติดตั้งปั้มเข้ากับต้นกำลังและระบบท่อดูดและท่อส่งน้ำแล้ว ก่อนที่จะเดินเครื่องให้ปั้มทำงานเป็นครั้งแรก จำเป็นต้องตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียก่อน มีอยู่บ่อยครั้งที่พบว่าปั้มชำรุดหรือเสียหายในทันทีที่ทดลองให้ทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการติดตั้ง ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องนั้น Mwater เสนอว่าควรจะได้ตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้เสียก่อน คือ
1. การหมุนของเพลา ตรวจสอบโดยการใช้มือหมุนเพลาดูก่อนว่าสามารถหมุนได้ง่ายพอสมควรหรือไม่ ถ้าฝืดมากหรือเป็นบางจุด ก็แสดงให้เห็นว่าปั้มและต้นกำลังยังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน หรือมีการขันอัดกันรั่ว
(Packing) แน่นเกินไป จำเป็นต้องแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
2. ทิศทางการหมุน ในกรณีต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า อาจมีการหมุนผิดทางได้ เนื่องจากการต่อขั้วไฟฟ้าไม่ถูกต้อง ตรวจสอบโดยเปิดปิดสวิทซ์ทันที ก็สามารถสังเกตุทิศทางการหมุนได้
3. การหล่อลื่นรองลื่น ในกรณีที่วัสดุของรองลื่นเป็นน้ำมัน ก็จำเป็นต้องเติมน้ำมันที่มีคุณภาพตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดให้เต็มตามระดับที่กำหนดไว้ และรักษาให้อยู่ในระดับดังกล่าวเสมอ
4. การทำงานของอุปกรณ์ล่อน้ำ ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ล่อน้ำทำงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ เป็นต้นว่า ถ้าล่อน้ำโดยการใช้ปั้มสูญญากาศ เมื่อเดินเครื่องปั้มสูญญากาศแล้วน้ำจะเข้ามาเต็มห้องสูบหรือไม่
ถ้ามีการรั่ว จน น้ำไม่สามารถเข้ามาบรรจุในห้องสูบได้ก็จะต้องแก้ไข ถ้าเป็นการเติมน้ำเข้าไปในห้องสูบโดยใช้แหล่งน้ำอื่น หรือปั้มขนาดเล็ก ก็จะต้องตรวจสอบว่าสามารถไล่อากาศออกจากห้องสูบได้มากพอที่
จะเดินเครื่องสูบน้ำหรือไม่
อ้างอิง.www.google.com
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำปรากฏว่า คนในชนบทใช้น้ำ 150 ลิตรต่อคนต่อวัน คนในเมืองใช้น้ำ 440 ลิตรต่อคนต่อวัน น้ำจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ระบบการประปาได้แก่ การนำน้ำเข้ามาใช้ การระบายน้ำโสโครกภายในอาคารบ้านเรือนออกไป เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากที่สุด ระบบประปาที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงหมายถึงความสะดวกสบาย สุขภาพและพลานามัยของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นความรู้เรื่องระบบน้ำประปา ระบบการระบายน้ำโสโครก สุขภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการจัดระบบการประปา การซ่อมบำรุงรักษา จึงเป็นสิ่งจำเป็น สามารถศึกษาและปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง
น้ำคือปัจจัยที่สำคัญใน การดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได่แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น
1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ
2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม
3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา
ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร
2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย
ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ
- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ
ชนิดถังเก็บน้ำ
0.ถังเก็บน้ำ ค.ส.ล. เป็นถังที่มีความแข็งแรงทนทานสามารถสร้างได้ทั้งแบบอยู่บนดิน และใต้ดิน แต่ทีน้ำหนักมาก การก่อสร้าง ต้องระวังเรื่องการรั่วซึม ดังนั้นต้องทำระบบกันซึมและต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย0.ถังเก็บน้ำสแตนเลส เป็นถังน้ำสำเร็จรูปโดยใช้โลหะสแตนเลสที่ไม่เป็นสนิม มีความทนทานต่อการใช้งาน นิยมติดตั้งเป็น ถังน้ำบนดิน0.ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูป ใช้วัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา รับแรงดันได้ดีและไม่เป็นพิษกับน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งบนดินและใต้ดิน0.ถังเก็บน้ำ PE (Poly Ethelyn) เป็นถังเก็บน้ำที่ใช้วัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ทำท่อน้ำประปา สามารถรับแรงดัน ได้ดีมีน้ำหนักเบา ใช้ติดตั้ง ได้ทั้งบนดินและ ใต้ดิน0.ถังเก็บน้ำสำเร็จรูปอื่นๆ ในสมัยก่อน นิยมถังเก็บน้ำที่เป็นเหล็กชุบสังกะสี รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ ถังจะผุกร่อนได้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ แล้วนอกจากนั้น ยังมีถังเก็บน้ำแบบโบราณ ที่เคยนิยมใช้มานาน ได้แก่ โอ่งน้ำขนาดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแบบดินเผา และแบบหล่อคอนกรีตการเลือกและออกแบบถังน้ำ จะต้องมีข้อคำนึงถึงคือ
ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของถังเก็บน้ำขนาดและจำนวนถังเก็บน้ำจะต้องมีปริมาณน้ำสำรองที่พอเพียงต่อการใช้งาน สำหรับบ้านพักอาศัยจะใช้น้ำที่ ประมาณ 200 ลิตร / คน / วันจะต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งถังเก็บน้ำสำหรับอาคารด้วยจะต้องมีความสะดวกสบายในการติดตั้ง การดูแลรักษาและทำความสะอาดระบบท่อที่เชื่อมต่อกับถังเก็บน้ำจะต้องดีมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่น น้ำรั่ว หรือชำรุดเป็นต้น
การเดินท่อน้ำเบื้องต้น
วิธีการเดินท่อประปา
โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้านจะมีอยู่2ชนิดคือ
1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญห าแต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อย และสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว
วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน
การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (Gavanize) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่สำคัญเมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้ว จะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดินจะซ่อมแซมยาก
วิธีการใช้สต๊อปวาล์วเมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์
โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์ว ในบริเวณส่วนที่ จ่ายน้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้
วิธีการตรวจสอบระบบประปา
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบ ร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น
การวางระบบท่อน้ำในที่นี้จะกล่าวถึงการวางท่อน้ำประปา หรือท่อน้ำดีเพื่อนำไปใช้ตามส่วนต่างๆ ของบ้านและการวางท่อน้ำ
ทิ้งจากจุดต่างๆ ของบ้านลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นการวางท่อแบบฝัง เพราะเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับอาคารบ้านเรือนใน
ปัจจุบัน และเป็นระบบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยง่ายหากทำไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก
ในช่วงก่อนท่อน้ำที่ใช้กันโดยทั่วไปตามบ้านจะเป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีซึ่งมีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะ
มีปัญหาเรื่องสนิม จึงเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้น้ำเพื่อการบริโภคจากท่อชนิดนี้ ต่อมามีการนำท่อน้ำที่ทำจากพลาสติกโพลีไวนิล
คลอไรด์ (PVC) หรือที่เรียกว่าท่อพีวีซีมาใช้แทนท่อเหล็กซึ่งก็มีผู้นำมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและไม่เป็นสนิม ต่อมา
วิวัฒนาการทางด้านพลาสติกมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ท่อพีวีซีที่ผลิตขึ้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ราคาไม่แพง
และยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด จึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามท่อน้ำที่ทำจากเหล็กก็
ยังคงใช้กันอยู่ในบางจุดที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น จุดที่ต้องรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก จุดที่ต้องรับความดันสูง หรือจุด
ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูงๆ เป็นต้น
หลักการต่อท่อ
1. สำรวจเส้นทางเดินท่อและบันทึกไว้อย่างละเอียด
2. พยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด และสะดวกในการใช้งานมากที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทาง เนื่องจากทำให้แรงดันน้ำลดลง
4. การขันเกลียวข้อต่อต่าง ๆ ไม่ควรขันแน่นเกินควร
5. การต่อท่อ P.V.C ควรเช็ดทำความสะอาด ก่อนทาน้ำยาประสาน
6. ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณ เช่น บริเวณที่เปียกชื้น ควรเดิน ท่อฝังดิน และควรใช้ท่อ P.V.C
7. หากท่อเมนประปาอยู่ไกล ควรใช้ท่อลดขนาด เช่น ท่อเมนย่อยขนาด 1 นิ้ว ท่อใช้งานภายในบ้านควรมีขนาด ½ นิ้ว เป็นต้น
การกำหนดขนาดความยาวของท่อ การกำหนดขนาดความยาวของท่อที่นิยมมี 3 วิธี
1. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงปลายท่อ ไม่รวมข้อต่อ
2. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อ
3. กำหนดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่ออีกด้านหนึ่ง
หมายเหตุ
การตัดท่อเพื่อการประกอบนั้น จะตัดท่อให้มีความยาวตามขนาดที่กำหนดไม่ได้ จะต้องตัดให้สั้นกว่า โดยลบความยาวออกประมาณ ¼ นิ้ว เมื่อสวมข้อต่อแล้วจะได้ระยะตามที่ต้องการ
การต่อท่อโลหะ
1. จับท่อด้วยปากกาหรือประแจจับท่อให้แน่น ให้ปลายท่อยื่นออกมาเล็กน้อย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเกลียว
3. ใช้เทปพันเกลียวพันประมาณ 4 – 5 รอบ
4. หมุนข้อต่อเข้ากับท่อด้วยมือจนตึงก่อน ระวังอย่าให้ปีนเกลียว
5. ใช้ประแจจับท่อจับบริเวณข้อต่อ แล้วหมุนประมาณ 1 – 2 รอบให้ตึงพอดี ๆ
การต่อท่อพลาสติก
1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. ทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อ แล้วทดลองสวมดูเพื่อทดสอบความแน่น
3. ทาน้ำยาบริเวณผิวท่อด้านนอกและข้อต่อด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
4. ประกอบท่อเข้ากับข้อต่อโดยดันให้สุด กดไว้ประมาณ 10 วินาที
5. ตรวจสอบบริเวณรอยต่อว่าแน่นหรือไม่ แล้วเช็ดน้ำยาส่วนเกินออก
การต่อข้อต่อแบบเสียบ
1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. สวมเหล็กรัดเข้ากับปลายท่อที่จะต่อ เสียบข้อต่อเข้ากับปลายท่อดันจนสุด
3. เลื่อนเหล็กรัดมาที่ข้อต่อ ใช้ไขควงขันสกรูที่เหล็กรัดให้แน่น
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางท่อน้ำและอุปกรณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้อง
1. ท่อน้ำที่ใช้ควรมีการประทับข้อความบนตัวท่อเป็นระยะๆ โดยบ่งบอกถึงยี่ห้อของท่อน้ำหรือบริษัทผู้ผลิต บอกชั้นของท่อว่าเป็น ชั้น 13.5 , 8.5 , หรือ 5 บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และควรมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย
2. ท่อน้ำควรอยู่ในสภาพใหม่ ไม่มีรอยแตกหรือชำรุดมาก่อน และสีต้องไม่หม่นหมองผิดเพี้ยนไปมาก อันเนื่องมาจาก การเก็บรักษา ในสภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
3. ท่อน้ำที่ดีควรใช้ท่อสีฟ้า 13.5 ทั้งหมด ในขณะที่ท่อสำหรับระบายน้ำและสิ่งปฏิกูลตามจุดต่างๆภายในบ้าน โดยเฉพาะ
ท่อที่ต้อง เดินฝังอยู่ภายในเสา ผนังหรือพื้น ควรใช้ท่อสีฟ้าชั้น 8.5 เป็นอย่างน้อยเพื่อความทนทานในการใช้งาน
4. ในการเดินท่อแบบฝังภายในผนัง จุดปลายของท่อที่ยื่นออกจากผนังสำหรับติดตั้งวาล์วหรือก๊อกน้ำจะมีการติดตั้งข้อต่อ
ชนิดเกลียว ในไว้สำหรับสวมกับวาล์วหรือก๊อกน้ำในภายหลัง ข้อต่อดังกล่าวควรจะเป็นข้อต่อชนิดที่ทำด้วยเหล็กไม่ควรใช้ข้อต่อพลาสติก
เพื่อป้องกันการแตกชำรุดที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากต้องมีการเปลี่ยนหัวก๊อก เพราะจุดนี้จะทำการซ่อมแซมได้ลำบาก
5. สำหรับบ้านที่ใช้อ่างอาบน้ำโดยไม่มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนและมีการเดินท่อน้ำแบบฝังอยู่ภายในผนัง ท่อน้ำร้อนที่ฝัง อยู่ภายในผนัง ที่เชื่อมระหว่างตัวเครื่องทำน้ำร้อนที่อยู่ด้านบนกับวาล์วควบคุมการเปิดและปิดน้ำร้อนที่อยู่ด้านล่างตรงอ่างอาบน้ำควรใช้
ท่อเหล็กแทนการใช้ท่อพีวีซี เพื่อป้องกันการชำรุดของท่อที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนของน้ำ
6. ในการเดินท่อน้ำแบบฝัง ก่อนที่จะทำการเทพื้นหรือฉาบผนังทับตรงจุดที่มีการเดินท่อควรมีการทดสอบการไหลของน้ำ
และตรวจตรา อย่างถี่ถ้วนว่าท่อน้ำที่เดินไว้ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำประปาหรือท่อระบายน้ำทิ้งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีการรั่วซึม เพราะถ้า
หากเทปูนหรือฉาบปูนทับไปแล้วท่อน้ำเกิดการรั่วซึมขึ้นมาในภายหลังจะแก้ไขได้ยาก
วัสดุอุปกรณ์งานประปา
1. ท่อประปา เป็นอุปกรณ์สำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดต่าง ๆ ตามที่ต้องการใช้ หรือนำน้ำโสโครกออกไปจากบ้านเรือน ท่อประปาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อโลหะและท่อพลาสติก
- ท่อโลหะ ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี ทำด้วยเหล็ก เคลือบผิวด้วยดีบุกหรือสังกะสี สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี แข็งแรงทนทาน ในการติดตั้งต้องใช้ข้อต่อชนิดเกลียวและเทปพันเกลียวเพื่อช่วยป้องกันการรั่วของเกลียวบริเวณรอยต่อ
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆเช่นเครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน
- ท่อประปาพีวีซี (PVC) เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากในงานประปา เพราะราคาถูก ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา ผิวท่อมีความลื่นดี ทำให้น้ำหรือสิ่งสกปรกภายในท่อไหลออกจากท่อได้ดี การต่อท่อโดยใช้ข้อต่อและน้ำยาประสานเป็นตัวเชื่อม แต่บางทีข้อต่อท่ออาจจะใช้แบบสวมหรือแบบเกลียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ข้อต่อ
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง
- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC)
ท่อพีวีซี (PVC) แบ่งตามชนิดการใช้งานโดยใช้สีดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภทการใช้งาน(มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน
2. ข้อต่อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อท่อ มีขนาดต่าง ๆ กัน ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำประปาหรือน้ำโสโครก หรือใช้อุดปลายท่อเมื่อทางเดินท่อสิ้นสุดลง ข้อต่อจะมีทั้งแบบชนิดที่ทำด้วยโลหะและพลาสติก
3. ลิ้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ใช้สำหรับปิดกั้นหรือควบคุมการไหลของน้ำหรือแก๊สที่ไหลผ่านท่อให้ได้ตามที่ต้องการ ลิ้นทำด้วยบรอนซ์หรือเหล็กหล่อ ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไปจะทำด้วยบรอนซ์ แต่ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ ครึ่งนิ้วถึง 2 นิ้วจะทำด้วยเหล็กหล่อ ลิ้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นแบบเกทวาล์ว ( บางทีนิยมเรียกกันว่า ประตูน้ำ ) ลิ้นแบบบอลวาล์ว
4. มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านอาจวัดเป็นแกลลอน ลูกบาศก์ฟุต หรือลูกบาศก์เมตร โดยอ่านค่าจากหน้าปัทม์ของมาตรวัด ใช้ติดตั้งกับท่อเมนที่จ่ายน้ำก่อนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แบบดิสค์ (Disk Meters) เพราะมีความเที่ยงตรงสูง ใช้วัดในปริมาณน้อย ๆ มีขนาดตั้งแต่ 5/8 – 2 นิ้ว
5. ก๊อกน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดของท่อประปา สำหรับควบคุมการปิดเปิดการไหลของน้ำ ทำจากทองเหลืองหรือบรอนซ์ ชุบนิเกิลหรือโครเมี่ยม ปลายก๊อกส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรียบหรือแบบเกลียวสำหรับต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ ก๊อกน้ำแบ่งออกหลายประเภท ซึ่งมีรูปร่าง และประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน แต่ที่นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบกดอัดปิดและแบบไม่ใช้การกดอัดปิด
ก๊อกน้ำแบบกดอัดปิด เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในงานประปา ก๊อกน้ำแบบนี้ปิดเปิดด้วยวิธีการหมุนให้ลิ้นยางอัดลงบนบ่า ส่วนก๊อกน้ำแบบไม่ใช้การกดอัดปิด จะปิดเปิดโดยการใช้คันโยกเพียงอันเดียวผลักซ้ายขวาหรือดึงขึ้นลงเท่านั้น
6. เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ที่อำนวยความสะดวกสบายในการใช้น้ำ และเป็นอุปกรณ์รองรับ สิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ก่อน การระบายออกจากระบบประปา เครื่องสุขภัณฑ์มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยที่แตกต่างกัน เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจานชาม เป็นต้น
7. อุปกรณ์อื่น ๆ ในงานต่อท่อประปา
7.1 เทปพันเกลียว ( Teflon Tape ) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่าง ๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีล การรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย เพราะเทปพันเกลียวในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 4 สี คือ เขียว ฟ้า ดำ แดง ตลับสีเขียวบาง สั้น และขาดง่าย แต่ราคาถูก ตลับสีฟ้า บาง ยาว และขาดง่าย ส่วนตลับสีดำและแดง หนาและขาดยากกว่า แต่ราคาแพงกว่า วิธีพันเกลียว ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว
7.2 น้ำยาต่อท่อพลาสติก การต่อท่อพลาสติกอาจต่อด้วยน้ำยาต่อท่อหรือต่อด้วยแหวนยางก็ได้ แต่ที่นิยมคือการต่อท่อด้วยน้ำยาต่อท่อ ซึ่งน้ำยาต่อท่อนี้จะช่วยละลายให้ผิวท่อพลาสติกอ่อนตัวให้ละลายติดกัน การเลือกใช้น้ำยานั้นจะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของท่อพลาสติกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ไม่เหมือนกัน ท่อ P.V.C อาจจะต้องใช้น้ำยารองพื้นก่อนเพื่อให้ผิวท่อสะอาด น้ำยาต่อท่อจึงจะละลายผิวท่อได้ดี ซึ่งจะทำให้รอยต่อนั้นแข็งแรง
การต่อท่อ การต่อท่อเพื่อจ่ายน้ำ ระบายน้ำเสีย ระบายอากาศ หรือต่อเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ โดยวัสดุท่อชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ต้องคำนึงถึงความคงทนถาวร ประหยัด และประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด ดังนั้นงานต่อท่อจึงหมายถึง การวัดระยะท่อ การตัด การทำเกลียว การต่อท่อโดยไม่มีการรั่วไหล ระบบประปาที่ดีนั้นจะต้องมีการต่อให้น้อย้
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร )
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อน ๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุก ๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว และมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาดแต่ที่นิยมกันคือขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือทำแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผงชอล์กซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นเหล็ก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญคือ ใบเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน / นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนา ๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อตหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็ก ๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุดคือขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึดท่อ ขณะตัด คว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยเยินที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่ 1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องมือตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อ ในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา
น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านขบวนการต่างๆ มากมาย กว่าจะมาเป็นน้ำประปาให้แก่ประชาชน ได้นั้น มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน และต้องมีการลงทุนสูงมาก
การใช้น้ำประปาอย่างถูกวิธี
ตรวจสอบท่อประปา
หมั่นตรวจสอบระบบเส้นท่อ ก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ อย่าให้แตกรั่ว น้ำที่หยดมาเป็นหยดๆ จะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ บางครั้งถึงวันละ 400 ลิตร หรือ 20 ปี๊บ และบ่อยครั้งที่หยดเร็วต้องเสียน้ำถึงวันละ 3,000 ลิตร หรือ 150 ปี๊บ(3 ลูกบาศก์เมตร)
การอาบน้ำ
ควรอาบด้วยฝักบัว หรือใช้ขันตักอาบ จะประหยัดมากกว่าการอาบในอ่างอาบน้ำ อ่างอาบน้ำต้องใช้น้ำมากถึง 110 ลิตร/คน/ครั้ง แต่ถ้าอาบด้วยฝักบัว หรือตักอาบจะใช้เพียง 20 ลิตร/คน/ครั้ง
การล้างถ้วยชามภาชนะ
ทุกครั้งที่ล้าง ขอให้เปิดน้ำลงอ่าง แล้วจึงล้าง ถ้าจะให้สะอาดก็ล้าง 2 ครั้งซึ่งจะใช้น้ำ ประมาณ 25 ลิตรเท่านั้น อย่างล้างด้วยวิธีเปิดก๊อกน้ำตลอดเวลา เพราะจะเสียน้ำถึง135 ลิตร ใน 15 นาที
การล้างอาหาร ผัก ผลไม้
ควรมีภาชนะรองรับน้ำ เท่าที่จำเป็นในการล้างแต่ละครั้ง แทนการเปิดก๊อกล้างโดยตรง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า และยังสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วไปรดน้ำต้นไม้ ได้อีก
การซักผ้า
การซักผ้าแต่ละครั้งควรมีจำนวนมากพอควร เพราะการซักแต่ละครั้งจะสิ้นเปลืองน้ำสูงมาก ขณะซักอย่าเปิดน้ำจากก๊อกลงภาชนะตลอดเวลา เพราะเพียง 20 นาที ท่านอาจเสียน้ำถึง 180 ลิตร การซักผ้าด้วยเครื่องจะใช้น้ำประมาณ 130 ลิตร จึงควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอกับกำลังของเครื่อง
การเช็ดถู
ควรตักน้ำใส่ถัง แล้วเอาผ้าหรือเครื่องมือจุ่มลงไป ไม่ควรใช้น้ำจากสายยางโดยตรง เพราะจะเสียน้ำ ถึง 200 ลิตร ใน 5 นาที
การรดน้ำต้นไม้
ไม่ควรใช้สายยาง ควรใช้ฝักบัว ในการรดน้ำ จะประหยัดน้ำได้มาก
การล้างรถ
ควรใช้ไม้ขนไก่ลูบฝุ่นออกก่อน แล้วจึงล้างรถ โดยรองน้ำใส่ถัง นำมาเช็ดล้างอีกครั้ง ไม่ควรใช้สายยางฉีดล้างโดยตรง จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมาก และยังทำให้รถผุเร็วด้วย
ห้องสุขา
ถ้าเป็นห้องน้ำชายอย่างเดียว หรือชายหญิงรวมกัน ควรติดตั้งโถปัสสาวะชาย ไว้ด้วย แยกจากโถอุจจาระ เพราะการใช้น้ำชำระล้างปัสสาวะ จะใช้น้ำน้อยกว่ามาก และโถส้วมแบบตักราด จะสิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า แบบชักโครก หลายเท่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ ชักโครก ควรติดตั้งโถปัสสาวะและโถส้วม แยกจากกัน
การโกนหนวด
เมื่อโกนหนวดแล้วจึงใช้กระดาษชำระเช็ดออกทีหนึ่งก่อน แล้วจึงใช้น้ำใส่แก้วมาชำระล้างอีกครั้ง ควรล้างมีดโกนโดยการจุ่มล้างในแก้ว หรือขัน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า การล้างโดนตรงจากก๊อก
การแปรงฟัน
ควรใช้แก้วหรือขันรองน้ำ เพื่อใช้ในการแปรงฟัน หรือล้างแปรง แต่ละครั้ง ซึ่งจะใช้น้ำ1-2 แก้วก็พอ การแปรงฟันและล้างแปรง โดยตรงจากก๊อก ถ้าเปิดทิ้งไว้จะทำให้สูญเสียน้ำถึง 9 ลิตร ต่อนาที
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร )
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อน ๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุก ๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว และมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาดแต่ที่นิยมกันคือขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือทำแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผงชอล์กซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นเหล็ก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญคือ ใบเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน / นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนา ๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อตหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็ก ๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุดคือขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึดท่อ ขณะตัด คว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยเยินที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่ 1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องมือตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อ ในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
วัสดุอุปกรณ์งานประปา
1. ท่อประปา เป็นอุปกรณ์สำหรับนำน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดต่าง ๆ ตามที่ต้องการใช้ หรือนำน้ำโสโครกออกไปจากบ้านเรือน ท่อประปาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อโลหะและท่อพลาสติก
- ท่อโลหะ ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี ทำด้วยเหล็ก เคลือบผิวด้วยดีบุกหรือสังกะสี สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี แข็งแรงทนทาน ในการติดตั้งต้องใช้ข้อต่อชนิดเกลียวและเทปพันเกลียวเพื่อช่วยป้องกันการรั่วของเกลียวบริเวณรอยต่อ
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆเช่นเครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน
- ท่อประปาพีวีซี (PVC) เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากในงานประปา เพราะราคาถูก ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา ผิวท่อมีความลื่นดี ทำให้น้ำหรือสิ่งสกปรกภายในท่อไหลออกจากท่อได้ดี การต่อท่อโดยใช้ข้อต่อและน้ำยาประสานเป็นตัวเชื่อม แต่บางทีข้อต่อท่ออาจจะใช้แบบสวมหรือแบบเกลียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ข้อต่อ
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง
- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC)
ท่อพีวีซี (PVC) แบ่งตามชนิดการใช้งานโดยใช้สีดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภทการใช้งาน(มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน
2. ข้อต่อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อท่อ มีขนาดต่าง ๆ กัน ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำประปาหรือน้ำโสโครก หรือใช้อุดปลายท่อเมื่อทางเดินท่อสิ้นสุดลง ข้อต่อจะมีทั้งแบบชนิดที่ทำด้วยโลหะและพลาสติก
3. ลิ้น เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ใช้สำหรับปิดกั้นหรือควบคุมการไหลของน้ำหรือแก๊สที่ไหลผ่านท่อให้ได้ตามที่ต้องการ ลิ้นทำด้วยบรอนซ์หรือเหล็กหล่อ ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไปจะทำด้วยบรอนซ์ แต่ลิ้นที่มีขนาดตั้งแต่ ครึ่งนิ้วถึง 2 นิ้วจะทำด้วยเหล็กหล่อ ลิ้นมีหลายชนิด เช่น ลิ้นแบบเกทวาล์ว ( บางทีนิยมเรียกกันว่า ประตูน้ำ ) ลิ้นแบบบอลวาล์ว
4. มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านอาจวัดเป็นแกลลอน ลูกบาศก์ฟุต หรือลูกบาศก์เมตร โดยอ่านค่าจากหน้าปัทม์ของมาตรวัด ใช้ติดตั้งกับท่อเมนที่จ่ายน้ำก่อนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แบบดิสค์ (Disk Meters) เพราะมีความเที่ยงตรงสูง ใช้วัดในปริมาณน้อย ๆ มีขนาดตั้งแต่ 5/8 – 2 นิ้ว
5. ก๊อกน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดของท่อประปา สำหรับควบคุมการปิดเปิดการไหลของน้ำ ทำจากทองเหลืองหรือบรอนซ์ ชุบนิเกิลหรือโครเมี่ยม ปลายก๊อกส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรียบหรือแบบเกลียวสำหรับต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ ก๊อกน้ำแบ่งออกหลายประเภท ซึ่งมีรูปร่าง และประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน แต่ที่นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบกดอัดปิดและแบบไม่ใช้การกดอัดปิด
ก๊อกน้ำแบบกดอัดปิด เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในงานประปา ก๊อกน้ำแบบนี้ปิดเปิดด้วยวิธีการหมุนให้ลิ้นยางอัดลงบนบ่า ส่วนก๊อกน้ำแบบไม่ใช้การกดอัดปิด จะปิดเปิดโดยการใช้คันโยกเพียงอันเดียวผลักซ้ายขวาหรือดึงขึ้นลงเท่านั้น
6. เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานประปา ที่อำนวยความสะดวกสบายในการใช้น้ำ และเป็นอุปกรณ์รองรับ สิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ก่อน การระบายออกจากระบบประปา เครื่องสุขภัณฑ์มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์ในการใช้สอยที่แตกต่างกัน เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจานชาม เป็นต้น
7. อุปกรณ์อื่น ๆ ในงานต่อท่อประปา
7.1 เทปพันเกลียว ( Teflon Tape ) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่าง ๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีล การรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย เพราะเทปพันเกลียวในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 4 สี คือ เขียว ฟ้า ดำ แดง ตลับสีเขียวบาง สั้น และขาดง่าย แต่ราคาถูก ตลับสีฟ้า บาง ยาว และขาดง่าย ส่วนตลับสีดำและแดง หนาและขาดยากกว่า แต่ราคาแพงกว่า วิธีพันเกลียว ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว
7.2 น้ำยาต่อท่อพลาสติก การต่อท่อพลาสติกอาจต่อด้วยน้ำยาต่อท่อหรือต่อด้วยแหวนยางก็ได้ แต่ที่นิยมคือการต่อท่อด้วยน้ำยาต่อท่อ ซึ่งน้ำยาต่อท่อนี้จะช่วยละลายให้ผิวท่อพลาสติกอ่อนตัวให้ละลายติดกัน การเลือกใช้น้ำยานั้นจะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของท่อพลาสติกแต่ละชนิดมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ไม่เหมือนกัน ท่อ P.V.C อาจจะต้องใช้น้ำยารองพื้นก่อนเพื่อให้ผิวท่อสะอาด น้ำยาต่อท่อจึงจะละลายผิวท่อได้ดี ซึ่งจะทำให้รอยต่อนั้นแข็งแรง
การต่อท่อ การต่อท่อเพื่อจ่ายน้ำ ระบายน้ำเสีย ระบายอากาศ หรือต่อเข้าเครื่องสุขภัณฑ์ โดยวัสดุท่อชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ต้องคำนึงถึงความคงทนถาวร ประหยัด และประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด ดังนั้นงานต่อท่อจึงหมายถึง การวัดระยะท่อ การตัด การทำเกลียว การต่อท่อโดยไม่มีการรั่วไหล ระบบประปาที่ดีนั้นจะต้องมีการต่อให้น้อย้
เครื่องมืองานประปา
เครื่องมืองานประปามีหลายชนิดหลายประเภท แต่ที่มีความสำคัญและจำเป็นในงานช่างประปานั้น มีดังนี้
1. เครื่องมือวัดระยะและวางแบบ ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
1.1 ตลับเมตร เป็นเหล็กสปริงแผ่นโค้ง สามารถดึงออกได้ยาวตามขนาดและม้วนเก็บอยู่ในตลับ มีขนาด 2 เมตร 3 เมตร 5 เมตร ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 2 เมตร )
1.2 บรรทัดพับ มีลักษณะเป็นท่อน ๆ สามารถพับเก็บได้ มีความยาวตั้งแต่ 2 – 8 ฟุต และสามารถพับได้ทุก ๆ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการพกพา ( ขนาดมาตรฐานจะมีความยาว 6 ฟุต ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้แต่บางทีก็จะทำด้วยโลหะ
1.3 ฉากตาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความฉาก ความเที่ยงตรงในการเข้ามุมของแนวท่อ โดยใบฉากจะทำมุม 90 องศากับด้ามฉาก ใบฉากจะมีความยาวตั้งแต่ 6 - 12 นิ้ว
1.4 ระดับน้ำ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบระดับทั้งในแนวดิ่งและแนวราบและความลาดเทของท่อ โดยทั่วไปจะเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๆ อาจทำด้วยไม้หรืออะลูมิเนียม และมีหลอดแก้วอยู่ตรงกลาง ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลว และมีฟองอากาศเป็นเครื่องชี้วัดความเที่ยงตรง ถ้าวางท่อได้ระดับฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางพอดี
1.5 ลูกดิ่ง เป็นเครื่องตรวจสอบความตรงในแนวดิ่ง ทำด้วยโลหะรูปทรงกรวยปลายแหลม และมีเชือกผูกอยู่ ลูกดิ่งมีหลายขนาดแต่ที่นิยมกันคือขนาด 12 ออนซ์
1.6 ชอล์กเส้น เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายหรือทำแนวบนพื้นหรือผนังก่อนวางท่อ โดยจะมีเชือกจุ่มอยู่ในผงชอล์กซึ่งโดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน เวลาใช้ก็ให้ดึงออกมาขึงตามแนวที่ต้องการแล้วดึงให้ตึง แล้วตีเส้นเชือกลงเป็นแนวสำหรับการวางท่อ เมื่อเลิกใช้ก็ให้ม้วนเชือกเก็บในตลับ ระวังอย่าให้ถูกน้ำ ถ้าถูกน้ำต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อนม้วนเก็บ
1.7 เหล็กขีด เป็นเครื่องมือสำหรับทำเครื่องหมายลงบนท่อที่กำหนดไว้ หรืออาจจะใช้ ดินสอขีดแทนก็ได้
2. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดที่เป็นเหล็ก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
2.1 เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือสำหรับตัดท่อเหล็ก มีส่วนประกอบสำคัญคือ ใบเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้า ฟันของเลื่อยจะอยู่ระหว่าง 18 – 32 ฟัน / นิ้ว ความยาวใบเลื่อยที่นิยมใช้กันมีขนาด 8 – 12 นิ้ว ฟันหยาบใช้ตัดท่อหนา ๆ ฟันละเอียดใช้ตัดท่อบาง โครงเลื่อยมีทั้งชนิดปรับได้และปรับไม่ได้ สามารถปรับแต่งใบเลื่อยให้ตึงและตรงได้โดยใช้น๊อตหางปลา
2.2 ประแจจับท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับจับหมุนท่อ ในกรณีที่ต้องการต่อท่อหรือถอดท่อออกจากข้อต่อ มีใช้กันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคือขนาด 24 นิ้ว
2.3 เครื่องตัดท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดท่อ เครื่องมือชนิดนี้ มีล้อตั้งแต่ 1 – 4 ล้อ เครื่องตัดท่อที่เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดของปากตั้งแต่ 1 – 4 นิ้ว สำหรับการตัดท่อเล็ก ๆ นั้น สามารถใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดได้เลย
2.4 เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับทำเกลียวที่ปลายด้านนอกของท่อหรือข้อต่อมีทั้งแบบปรับแต่งขนาดได้และปรับแต่งขนาดไม่ได้ ที่นิยมกันมากที่สุดคือขนาด 1 – 2 หุน
2.5 ปากกาจับท่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับยึดท่อ ขณะตัด คว้าน หรือทำเกลียวท่อ มีทั้งแบบยึดติดกับโต๊ะและแบบมีขาตั้ง ขนาดที่นิยมใช้กันคือ ขนาดที่สามารถจับท่อได้ตั้งแต่ 1 หุน ถึง 3 นิ้ว
2.6 ดอกคว้านท่อ เป็นเครื่องมือสำหรับคว้านปลายท่อด้านในเพื่อขจัดรอยเยินที่เกิดจากการตัด มีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันคือชนิดกรอกแกรก มีขนาดตั้งแต่ 1 หุน ถึง 2 นิ้ว
3. เครื่องมืองานวางท่อประปาชนิดพลาสติก ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1 เครื่องมือสำหรับตัดท่อ หากไม่ใช้เครื่องมือตัดท่อ อาจใช้เลื่อยตัดเหล็กแทนได้
3.2 ตะไบกลมและตะไบท้องปลิง ใช้สำหรับคว้านปลายด้านในของท่อเพื่อขจัดรอยเยิน
3.3 เครื่องบานปลายท่อ ใช้สำหรับบานปลายท่อ ในกรณีที่ใช้ข้อต่อแบบขันเกลียว
3.4 ประแจขันท่อ ใช้สำหรับขันท่อ ในกรณีที่ต้องการบานปลายท่อหรือขันข้อต่อ
การใช้และบำรุงรักษาปั้มสูบน้ำ
ระบบจะทำงานได้ดีตามที่ออกแบบไว้ และมีอายุการใช้งานยาวนานก็ต่อเมื่อ ได้มีการใช้งานอย่างถูกวิธี มีสภาพการทำงานตรงตามที่กำหนดไว้เมื่อออกแบบ และมีการบำรุงรักษาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องด้วย
การตรวจสอบหลังติดตั้ง
หลังจากที่ได้ติดตั้งปั้มเข้ากับต้นกำลังและระบบท่อดูดและท่อส่งน้ำแล้ว ก่อนที่จะเดินเครื่องให้ปั้มทำงานเป็นครั้งแรก จำเป็นต้องตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียก่อน มีอยู่บ่อยครั้งที่พบว่าปั้มชำรุดหรือเสียหายในทันทีที่ทดลองให้ทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการติดตั้ง ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องนั้น Mwater เสนอว่าควรจะได้ตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้เสียก่อน คือ
1. การหมุนของเพลา ตรวจสอบโดยการใช้มือหมุนเพลาดูก่อนว่าสามารถหมุนได้ง่ายพอสมควรหรือไม่ ถ้าฝืดมากหรือเป็นบางจุด ก็แสดงให้เห็นว่าปั้มและต้นกำลังยังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน หรือมีการขันอัดกันรั่ว
(Packing) แน่นเกินไป จำเป็นต้องแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง
2. ทิศทางการหมุน ในกรณีต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า อาจมีการหมุนผิดทางได้ เนื่องจากการต่อขั้วไฟฟ้าไม่ถูกต้อง ตรวจสอบโดยเปิดปิดสวิทซ์ทันที ก็สามารถสังเกตุทิศทางการหมุนได้
3. การหล่อลื่นรองลื่น ในกรณีที่วัสดุของรองลื่นเป็นน้ำมัน ก็จำเป็นต้องเติมน้ำมันที่มีคุณภาพตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดให้เต็มตามระดับที่กำหนดไว้ และรักษาให้อยู่ในระดับดังกล่าวเสมอ
4. การทำงานของอุปกรณ์ล่อน้ำ ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ล่อน้ำทำงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ เป็นต้นว่า ถ้าล่อน้ำโดยการใช้ปั้มสูญญากาศ เมื่อเดินเครื่องปั้มสูญญากาศแล้วน้ำจะเข้ามาเต็มห้องสูบหรือไม่
ถ้ามีการรั่ว จน น้ำไม่สามารถเข้ามาบรรจุในห้องสูบได้ก็จะต้องแก้ไข ถ้าเป็นการเติมน้ำเข้าไปในห้องสูบโดยใช้แหล่งน้ำอื่น หรือปั้มขนาดเล็ก ก็จะต้องตรวจสอบว่าสามารถไล่อากาศออกจากห้องสูบได้มากพอที่
จะเดินเครื่องสูบน้ำหรือไม่
อ้างอิง.www.google.com
ช่างสี ( งานชิ้นที่ 4 )
ช่างสี ( งานชิ้นที่ 4 )
งานช่างสี
งานช่างสี เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง เช่น งานไม้ งานปูน และงานโลหะ เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น ยืดอายุ การใช้งานให้ยาวนานขึ้น งานช่างสีมีหลักวิธีการ เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง


ช่างสี ( งานชิ้นที่ 4 )
ช่างสี ( งานชิ้นที่ 4 )
งานช่างสี
งานช่างสี เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง เช่น งานไม้ งานปูน และงานโลหะ เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น ยืดอายุ การใช้งานให้ยาวนานขึ้น งานช่างสีมีหลักวิธีการ เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง


ช่างสี ( งานชิ้นที่ 4 )
งานช่างสี
งานช่างสี เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง เช่น งานไม้ งานปูน และงานโลหะ เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น ยืดอายุ การใช้งานให้ยาวนานขึ้น งานช่างสีมีหลักวิธีการ เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง


ช่างสี ( งานชิ้นที่ 4 )
งานช่างสี
งานช่างสี เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง เช่น งานไม้ งานปูน และงานโลหะ เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น ยืดอายุ การใช้งานให้ยาวนานขึ้น งานช่างสีมีหลักวิธีการ เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง


สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)