ความหมายของงนช่างสี
งานสีเป็นงานช่วยรักษา ป้องกันสภาพผิวของเนื้อวัสดุให้คงทน มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน ทำให้ผิวงานมีความสวยงามยิ่งขึ้น งานสีจะเป็นงานขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต ลักษณะของผู้ที่จะเป็นช่างทาสี จะต้องเป็นคนที่ต้องใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติงานจนเกิดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับ เทคนิคขั้นตอนการทาสีหรือพ่นสี มีความเข้าใจเกี่ยวกับสีหรือวัสดุอื่นในการเคลือบผิว ตลอดจนโทนสีต่าง ๆ ที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงให้ความรู้สึกร้อน สีฟ้าอ่อนให้ความรู้สึกกว้างสบายตา เป็นต้น ลักษณะการทำงานจะเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีตสูง การทาสีหากเป็นงานทาสีอาคาร ตึก ต้องใช้นั่งร้าน ทาสีในที่สูง ๆ ช่างสีจึงต้องเป็นคนที่กล้าทำงานในที่สูง
งานสีแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. งานทาสีปิดลายไม้ เช่นการทาสีหรือวัสดุอื่น แล้วมองไม่เห็นลายไม้
2. งานเคลือบผิวโชว์ลายไม้ เช่น การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก ยูริเทน เมื่อทาแล้วสามารถมองเห็นลายไม้
สีน้ำอะครีลิก
เหมาะสำหรับใช้ทาภายในอาคาร ในส่วนที่เเป็นพื้นผิวฉาบปูน อิฐ คอนกรีต ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น โดยสีน้ำอครีลิกจากแต่ละบริษัทจะมีคุณภาพของเนื้อสีแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
- สีน้ำอะครีลิคแท้ 100 %
ใช้ทาภายในเท่านั้น นอกเสียจากจะมีการผสมสารบางตัวในการยึดเกาะและทนทานต่อสภาวะอากาศต่าง ๆ ได้ เช่น สีน้ำอะครีลิกแท้ TM 100% เนื้อสีจะให้ฟิล์มสีกึ่งเงา เนื้อสีเรียบเนียนไม่สะท้อนแสง ลดการยึดเกาะของฝุ่น สีน้ำอะคริลิกเรซิน 100 % ให้สีทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยการชะล้าง และลดการก่อตัวของคราบสกปรกบนผนังจากน้ำฝน การยึดเกาะของสีดี ไม่ลอกร่อน สีน้ำอะครีลิกผลิตจากสารอีลาสโตเมอริค อคริลิก 100 % ให้ฟิล์มสีที่ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับการปกปิดพื้นผิว แตกลายงา ป้องกันการกัดกร่อนของผิวคอนกรีต และโครงสร้างของเหล็กภายในได้
- สีน้ำอะครีลิกที่มีฟิล์มสีมีประกาย (Shimmering Emulsion)
โดยจะให้ลักษณะสีเป็นประกายเห็นได้ชัดแตกต่างจากสีทั่วไป เหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความแตกต่างของสีสัน
- สีน้ำอครีลิกผสมสารเทฟล่อน
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการเคลือบและป้องกันพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นผง หรือสิ่งสกปรก ปลอดภายจากความชื้น
โดยทั้งนี้ สีน้ำอะครีลิกทุกตัวในปัจจุบันมีการมุ่งเน้นในเรื่องของการเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย ป้องกันการเกิดตะใคร่น้ำและเชื้อรา ทนทานต่อความเป็นด่างของพื้นผิวได้ดี ที่สำคัญ ปราศจากสารปรอท สารตะกั่ว ให้ความปลอดภายแก้ผู้อยู่อาศัย
สีน้ำมัน
เป็นสีที่ใช้สำหรับทาภายในและภายนอกในส่วนที่เป็นงานไม้ งานโลหะ และงานทั่วไปที่ต้องการความคงทนเป็นพิเศษ เช่นประตูหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ โดยทั่วไปผลิตจากสารเรซิน ที่แต่ละแบรนด์จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เนื้อสีจะให้ความงามมากกว่าเนือสีแบบอะครีลิกและไม่มีการผสมสารปรอท สารตะกั่ว ในเนื้อสี ให้ความปลอดภายในการนำไปใช้
สำหรับในปัจจุบัน มีหลากหลายทางเลือกในการใข้สีให้เมาะกับารูปแบบการตกแต่งต่าง ๆ จึงมีบริษัทสีหลายแห่งที่มีศูนย์ในการผสมสีตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถให้ผสมสีตามสั่งได้ตั้งแต่ขนาดควอทซ์ และขนาดเป็นแกลลอน ตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการนำไปใช้ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงขนาดพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนสั่งการผสมสีในทุกครั้ง
ส่วนประกอบของสีและประเภทของสี
kruchang บันทึก "ในปัจจุบันสีมีบทบาทสำคัญต่องานเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ารอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นตึกราม บ้านช่อง รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ฯลฯ ล้วนแต่เคลือบผิวด้วยสีทั้งสิ้น การเคลือบสีผิวผลิตภัณฑ์ นอกจากจะทำให้ดูสวยงาม น่าซื้อ น่าใช้แล้ว สีบางชนิดยังช่วยป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิม และไม่ให้เกิดการผุกร่อนได้อีกด้วย
ส่วนประกอบของสี
ส่วนประกอบที่สำคัญของสีมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันคือ เนื้อสี ( Pigment ) ตัวยึดหรือกาว (Binder ) และตัวทำละลาย ( Solvent )
1. เนื้อสี ( Pigment ) เนื้อสีจะมีลักษณะเป็นผงละเอียด มีสีต่างๆ ตามต้องการ เนื้อสีจะมีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1.1 ผงพื้นสี มีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายกับแป้งฝุ่น มีอำนาจการปิดบัง และปกคลุมผิวเบื้องล่าง โดยปกติผงพื้นสีจะทำจาก ผงตะกั่วขาว - แดง
1.2 ผงแม่สี คือผงสีละเอียดที่ใช้ผสมกับผงแม่สี เพื่อให้เกิดเป็นสีต่างๆ ตามต้องการ ส่วนใหญ่จะได้จากแร่ธาตุ เช่น สีดำได้จากผงแกรไฟท์ สีเขียวได้จากคอปเปอร์ซัลเฟต สีแดงได้จาผงตะกั่วแดง สีน้ำเงินได้จากผงโคบอลท์ ฯลฯ
2. ตัวยึด หรือกาว (Binder ) กาวที่ใช้ผสมสีมีมากมายหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติจับตัวกับเนื้อสี และเกาะตัวกับชิ้นงานรองรับได้ดี กาวจะมีลักษณะเป็นของเหลวใส ถ้าปราศจากเนื้อสีเมื่อกาวแห้งจะมีลักษณะเป็นของแข็งโปร่งใส นอกจากจะเป็นตัวเกาะยึดระหว่างสีกับชิ้นงานแล้ว กาวยังเป็นตัวเพิ่มความมัน เงางามให้กับเนื้อสีอีกด้วย
3. ตัวทำละลาย ( Solvent ) เป็นตัวทำละลายที่มีลักษณะเป็นของเหลวใสคล้ายน้ำ เป็นตัวช่วยให้เนื้อสีกับกาวผสมกันได้ดี เป็นตัวทำให้เนื้อสีและกาวเจือจางเป็นของเหลวใส สามารถทำการพ่น หรือทาได้ด้วยแปรง เมื่อสีแห้งตัวทำละลายจะหายไปหมด เหลืออยู่แต่เนื้อสีและกาวติดอยู่ ตัวทำละลายที่ใช้ ได้แก่ น้ำมันสน ( Terpentine ) น้ำมันทินเนอร์ (Thinner )
ประเภทของสี
สีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมปัจจุบัน แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้หลายชนิด ด้วยกันตือ
1. สีน้ำมัน ( Oli Paint ) เป็นสีที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป มีราคาไม่แพงนัก ส่วนใหญ่สีชนิดนี้จะใช้ทาอาคารบ้านเรือนในส่วนที่เป็นเหล็กและไม้ เป็นสีที่ใช้ทาหรือพ่นได้ง่าย หลังจากทาแล้วเพียง 4 - 5 ชั่วโมง สีจะแห้งสนิท ตัวทำละลายที่ใช้กับสีน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสน
ยังมีสีน้ำมันอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าสีพื้น ( Primer ) หรือสีกันสนิม ( Red Oxide Primer )เป็นสีที่มีคุณสมบัติในการเกาะตัวกับโลหะได้ดี สีชนิดนี้ใช้ผงพื้นสีจำพวก เหล็กอ๊อกไซด์ หรือตะกั่วแดง เหมาะที่จะใช้ทารองพื้นเหล็กก่อนที่จะทาสีทับหน้าต่อไป
2. สีน้ำ หรือสีพลาสติก ( Water Paint or Plastic Kmultion Paint ) เป็นสีที่ผสมพลาสติกพวก โพลีไวนิลอาซีเตท ( Polyvinyl Acetate ) หรือที่เรียกว่า P.V.A. ซึ่งคุณสมบัติคล้ายกาวละลายน้ำได้ เกาะติดกับวัสดุต่างๆ ได้ดีมาก แข็งตัวภายในเวลา 2 ชั่วโมง ตัวทำละลายที่ใช้กับสีพลาสติก ได้แก่ น้ำ สีประเภทนี้ใช้ทาอาคารคอนกรีตทั้งภายในและภายนอก
3. สีเคลือบ (Knamel) เป็นสีที่เกิดจากการผสมเนื้อสีกับน้ำมันวานิช มีคุณสมบัติคงทนต่อแสงแดดเป็นพิเศษ มีความมันเงางาม ใช้ได้ทั้งทาและพ่น ส่วนใหญ่ใช้สำหรับพ่นรถยนต์ มีทั้งชนิดแห้งช้าและแห้งเร็ว ชนิดแห้งช้าจะต้องอบด้วยความร้อน เพื่อให้สีสุกและติดแน่น ตัวทำละลายที่ใช้ได้แก่ น้ำมันทินเนอร์
4. สีอุดพลาสติก ( Plastic Filler ) ในสมัยก่อน การเติมรอยชำรุดของโลหะที่จะทำการพ่นสี จะใช้วิธีการบัดกรีด้วยตะกั่วเข้าไปเพิ่มเนื้อที่ให้เต็ม ซึ่งวิธีนี้จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง ปัจจุบันการซ่อมผิวงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เมื่อใช้สีอุดพลาสติก เพราะสีอุดพลาสติกนี้จะแข็งตัวภายในเวลา 15 - 30 นาที สามารถซ่อมผิวงานบริเวณกว้างๆ ได้ เช่น งานซ่อมตัวถัง รถยนต์ ฯลฯ
สีอุดพลาสติกเมื่อเวลาจะใช้งาน จะต้องใช้คู่กับน้ำยาที่ทำให้สีอุดพลาสติกแห้งตัวเร็ว น้ำยาที่ใช้เรียกว่า Hardener ถ้าไม่ผสมน้ำยานี้ สีจะแข็งตัวช้า ถ้าผสมน้ำยามาก สีก็จะแข็งตัวเร็ว สีเมื่อผสมน้ำยาแล้วจะต้องใช้ให้หมดภายในเวลา 2 นาที สีชนิดนี้ เมื่อแข็งตัวแล้ว สามารถ ตบแต่งผิวให้เรียบได้ด้วยกระดาษทราย แล้วจึงทำการทาสีหรือพ่นสีต่อไป
5. แลคเคอร์ ( Lacquer ) นับว่าเป็นสีเคลือบไม้ชนิดหนึ่งที่แห้งเร็ว คือจะแข็งตัวภายในเวลา 15 - 20 นาที แลคเคอร์ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีความแข็ง และมีความมันเงางาม เนื้อสีใส เมื่อถูกทาลงบนพื้นไม้หรือวัสดุอื่นๆ สารละลายจะระเหยออกทิ้งแผ่นฟิลม์บางๆ ฉาบผิววัสดุนั้น เนื่องจากแลคเคอร์มีเนื้อใส จึงสามารถมองเห็นพื้นผิวเดิมของวัสดุนั้น แลคเคอร์เหมาะกับงานพวกเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการให้เห็นลายไม้เดิม โดยใช้การทาหรือพ่นก็ได้ ตัวละลายที่ใช้กับแลคเคอร์ได้แก่ ทินเนอร์ "
ขั้นตอนการทาสี
27/09/2008
View: 21,354
Edit TitleEdit Detail
1. งานปูน
สียืดหยุ่น
เนื้อสีมีคุณสมบัติที่มีความเหนียวยืดหยุ่นได้ดี สามารถปกปิดรอยแตกลายงาได้อย่างดี
สามารถป้องกันน้ำซึมผ่านฟิลม์สีได้ เนื้อสีกึ่งเงา สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย สามารถใช้ได้
ทั้งภายนอกและภายในอาคาร และมีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อราได้ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น 1ชั้น
ทั้งปูนเก่า และปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นของสียืดหยุ่น ผสมกับ ทินเนอร์เฉพาะ อัตราส่วน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 5 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีทับหน้า 2 ชั้น
ทาด้วยสียืดหยุ่นโดยไม่ต้องผสมน้ำ แต่หากต้องการผสมเพื่อความสะดวกในการทา ให้ผสมกับ น้ำ อัตราส่วน 5-10% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 5 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง
สีทาภายนอกอาคาร
สี Solvent Base ทาภายนอกอาคาร
เป็นสีที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรง เช่นบริเวณชายทะเลได้อย่างดียิ่ง
หรือสามารถใข้กับงานที่ต้องการสีสันคงทนเป็นพิเศษ เนื้อสีกึ่งเงา อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว น้ำ
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
q ขัดลอกสีเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยผ้าทรายเบอร์ 2 1/2 และน้ำยาลอกสี
q ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น
ทั้งปูนเก่า และปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นผสมกับ อัตราส่วนน้ำมันสน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีทับหน้า
ทาด้วยสีโดยผสมทินเนอร์เฉพาะ แต่หากต้องการความประหยัด สามารถใช้ทินเนอร์ทั่วไป โดยผสม อัตราส่วน 5-10% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
สีน้ำพลาสติกทั่วไป
ทั้งภายนอกและภายในอาคาร อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
q ขัดลอกสีเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยผ้าทรายเบอร์ 2 1/2 และน้ำยาลอกสี
q ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น 1ชั้น
q ปูนเก่า ทาด้วยสีรองพื้นปูนเก่า ผสมกับ น้ำมันสน อัตราส่วนน้ำมันสน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
q ปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นปูนใหม่ ผสมกับ น้ำ อัตราส่วนน้ำ 25-30% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีทับหน้า 2 ชั้น
ทาสีโดยผสมน้ำ แต่หากต้องการผสมเพื่อความสะดวกในการทา ให้ผสมกับ น้ำ อัตราส่วน 5-30% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง
Paint Tipsการทาสีน้ำชนิดอครีลิค บนสายไฟ สีจะไม่แห้งดี ควรหลีกเลี่ยง หรือทารองพื้นด้วยสีน้ำชนิดโคโพลีเมอร์ก่อน
สีทาในอาคาร
สีลวดลายวอลเปเปอร์
เป็นระบบสีที่สามารถสร้างให้เกิดลวดลายบนผนังได้อย่างสวยงามด้วยวิธีง่ายๆ โดยในการใช้สีวอลเปเปอร์ จะมี
สี 3 ส่วนคือ สีพื้น 2. สีสลับลาย 3. สี(น้ำยาเคลือบเงาผิว ซึ่งเมื่อทาเสร็จแล้ว ก็จะได้เนื้อสีกึ่งเงา อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี ลูกกลิ้งสร้างลาย กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเก่า
q ขัดลอกสีเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยผ้าทรายเบอร์ 2 1/2 และน้ำยาลอกสี
q ขัดทำความสะอาด ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3
q ซ่อมแซมและอุดรอยร้าว ด้วยสีโป๊ว และหากมีการรั่วซึมน้ำของอาคาร ควรซ่อมแซมก่อน
q ฆ่าเชื้อรา ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวปูนใหม่
ทำความสะอาด
ปูนแห้งไม่น้อยกว่า 28 วัน
ค่าความชื้น ไม่เกิน 6%
การทาสีรองพื้น 1ชั้น
q ปูนเก่า ทาด้วยสีรองพื้นปูนเก่า ผสมกับ น้ำมันสน อัตราส่วนน้ำมันสน 10-20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
q ปูนใหม่ ทาด้วยสีรองพื้นปูนใหม่ ผสมกับ น้ำ อัตราส่วนน้ำ 25-30% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีพื้น
ทาด้วยสีพื้น ผสมกับ น้ำ อัตราส่วนน้ำ10% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 1-2 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าต่อไป
การทาสีสลับลาย
ทาสีสลับลายด้ายลูกกลิ้งธรรมดาโดยไม่ต้องผสมน้ำ 1 เที่ยว แล้วจึงนำลูกกลิ้งสร้างลายมาทาสีสลับลายให้พออิ่มตัว นำลูกกลิ้งสร้างลายไปกลิ้งบนกระดาษเพื่อขจัดสีส่วนเกินออก แล้วจึงนำไปกลิ้งทับลงบนสีสลับลายในขณะที่ยังเปียกอยู่โดยไม่ต้องให้รอให้สีสลับลายแห้ง โดยทาในแนวดิ่ง และทาทแยง 45 องศา (โปรดอ่านคำแนะนำและวิธีการสร้างลาย ตามวิธีการสร้างลายของอุปกรณ์แต่ละชนิดประกอบด้วย) ทิ้งให้แห้งข้ามคืนหรือ 12 ชั่วโมง จึงทาสีเคลือบเงา
การทาสีเคลือบเงา
ทาสีเคลือบเงาเพื่อความเงางาม คงทน ทาโดยไม่ต้องผสมน้ำ ทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง
--------------------------------------------------------------------------------
2. สีน้ำมัน
สีน้ำมันเป็นสีที่เหมาะกับงานประเภทงานเหล็ก งานไม้ และงานโลหะ โดยทั่วไปสีน้ำมันจะมีความเงางามสูงมาก
แต่ก็มีสีน้ำมันที่ผลิตเป็นชนิดด้านด้วยเช่นกัน แต่สีน้ำมันชนิดด้านจะมีเฉดสีให้เลือกน้อยกว่ามาก และมีราคาสูงกว่า
สีน้ำมันทั่วไป ในการทาสีที่งานไม้สีน้ำมันจะไม่โชว์ลายไม้ให้เห็น อุปกรณ์ที่ต้องใช้ แปรงทาสี ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวเหล็ก
q เหล็กใหม่ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่น ผง สนิม และคราบไข ด้วยกระดาษทรายน้ำขัดเหล็ก
q หลังจากนั้นให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นกันสนิม โดยใช้สีกันสนิมผสมกับน้ำมันซักแห้งเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 5-6 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้า (หากต้องการให้ประสิทธิภาพในการกันสนิมสูงขึ้นควรทาสีกันสนิม 2 เที่ยว
q เหล็กเคยทาสีทาแล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทรายน้ำเบอร์ 150-240-320 ตามความละเอียดของงาน หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วทำความสะอาดให้ปราศจากสนิม หากสียังอยู่ในสภาพดีให้ใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 180-220 ลูบเพื่อให้เกิดความหยาบ
q หลังจากนั้นให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นกันสนิม โดยใช้สีกันสนิมผสมกับน้ำมันซักแห้งเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 5-6 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้า (หากต้องการให้ประสิทธิภาพในการกันสนิมสูงขึ้นควรทาสีกันสนิม 2 เที่ยว
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวไม้
q ไม้ใหม่ ควรไสหรือ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้ ด้วยกระดาษทราย และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข
q หากไม้มียาง ให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นไม้อลูมิเนียม เพื่อกันยางไม้ทำลายสี โดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีกันเชื้อรา
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
q ไม้เคยทาสีแล้ว แล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทราย เบอร์ หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วทำความสะอาด หากสียังอยู่ในสภาพดีให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ ลูบเพื่อให้เกิดความหยาบ
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
การเตรียมพื้นผิว กรณีพื้นผิวโลหะอลูมิเนียม สังกะสี
q ให้ทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นผง และคราบไข และหากมีสีเดิมให้ขัดออกให้เรียบร้อย
q แล้วใช้น้ำยารองพื้นวอชไพร์เมอร์ เพื่อปรับสภาพพื้นผิวเพิ่มการยึดเกาะ โดยนำน้ำยา 2 ส่วนมาผสมกัน ในอัตราส่วนตามที่ระบุไว้ในแต่ละยี่ห้อ แล้วจึงนำมาทาบนพื้นผิว และรอให้แห้ง 4-5 ชั่วโมง จึงทาสีรองพื้นกันสนิม ซิงค์โครเมต
q ทาสีรองพื้นกันสนิม ซิงค์โครเมต โดยผสมกับน้ำมันซักแห้ง แล้วรอให้แห้ง 4-5 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าได้
การทาสีทับหน้า
หลังจากรองพื้นแล้ว ให้ทาสีทับหน้าโดยนำสีน้ำมัน ผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง 8-10 ชั่งโมง จึงทาสีทับอีก 1 ชั้น ทิ้งให้แห้ง อีก 8-10ชั่วโมง (หากต้องการพื้นผิวด้านโดยใช้วิธีผสมสีกับหัวเชื้อด้าน ให้ผสมหัวเชื้อด้านกับสีน้ำมันในการทาเที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วน สีน้ำมันผสมกับหัวเชื้อด้าน 25% ในกรณีต้องการความด้าน 100% )
--------------------------------------------------------------------------------
3. สีงานผนัง วงกบ ประตู หน้าต่างไม้
สีย้อมไม้ และรักษาเนื้อไม้
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความคงทนสูง และตัวสีซึมเข้าไปในเนื้อไม้ช่วยรักษาเนื้อไม้ได้อย่างดี ลักษณะสีเป็นการโชว์ลายไม้
โดยมีให้เลือกทั้งชนิดกึ่งเงา และชนิดเงา สีชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่ฝาผนังบ้าน วงกบ ประตู หน้าต่างไม้
การใช้งานใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยไม่ต้องใช้สีรองพื้นใดๆ อุปกรณ์
แปรงแชล็ก (ขนกระต่าย) หรือแปรงทาสีทั่วไป
การเตรียมพื้นผิว
q ไม้ใหม่ ควรไสหรือ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3 แล้วขัดเก็บงานละเอียดด้วยเบอร์ 1 และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข
q ไม้เคยทาสีแล้ว แล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทราย เบอร์ หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วขัดสีเก่าให้ออกจนถึงเนื้อไม้เดิม แล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิท
การทาสีย้อมไม้
การทาสีย้อมไม้ จะไม่ต้องรองพื้นก่อนเพื่อให้สีซึมเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดี โดยสามารถทาได้หลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จทันที การทาไม่ต้องผสมน้ำมันไดๆทั้งสิ้น แต่หากจำเป็นต้องผสม เช่นอากาศร้อนจัด ให้ใช้น้ำมันทินเนอร์ผสมเฉพาะของแต่ละยี่ห้อ หรือใช้น้ำมันสน ตามอัตราส่วน 5-10%หรือตามที่ระบุ โดยทาตามแนวลายไม้ ทิ้งไว้ให้แห้ง 8-10 ชั่วโมงจึงทาทับได้ โดยปกติจะทาสีย้อมไม้ประมาณ 2-3 เที่ยว (หากต้องการพื้นผิวด้านโดยใช้วิธีผสมสีย้อมไม้กึ่งเงากับหัวเชื้อด้าน ให้ผสมหัวเชื้อด้านกับสีในการทาเที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วน สีผสมกับหัวเชื้อด้าน 25% ในกรณีต้องการความด้าน 100%)
สีน้ำทาไม้
เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มสีน้ำที่ผลิตมาเพื่องานไม้โดยเฉพาะ ลักษณะสีเป็นสีชนิดด้านที่ไม่โชว์ลายไม้ สีชนิดนี้เหมาะกับ
การใช้งานที่ฝาผนังบ้าน วงกบ ประตู หน้าต่างไม้ การใช้งานใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคา อุปกรณ์ แปรงทาสีทั่วไป ลูกกลิ้งทาสี กระดาษกาว
การเตรียมพื้นผิว
q ไม้ใหม่ ควรไสหรือ ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบ ไม่มีเสี้ยนไม้ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 3 แล้วขัดเก็บงานละเอียดด้วยเบอร์ 1 และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข
q หากไม้มียาง ให้รองพื้นด้วยสีรองพื้นไม้อลูมิเนียม เพื่อกันยางไม้ทำลายสี โดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีกันเชื้อรา
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
q ไม้เคยทาสีแล้ว แล้ว ขัดลอกสีเดิมที่เสื่อมสภาพออกด้วยกระดาษทราย เบอร์ หรือใช้น้ำยาลอกสี แล้วทำความสะอาด หากสียังอยู่ในสภาพดีให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 2 ลูบเพื่อให้เกิดความหยาบ
q ทาสีรองพื้นไม้กันเชื้อราโดยใช้สีรองพื้นผสมกับน้ำมันสนเล็กน้อย ทิ้งให้แห้ง 8-10 ชั่วโมง จึงทาสีจึงทาสีทับหน้า
การทาสีน้ำทาไม้ทับหน้า 2 ชั้น
ทาสีโดยผสมน้ำ แต่หากต้องการผสมเพื่อความสะดวกในการทา ให้ผสมกับ น้ำ อัตราส่วน ประมาณ 20% โดยปริมาตร แล้วทิ้งให้แห้ง 2-4 ชั่วโมง จึงทาสีทับหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง
Paint Tips สีย้อมไม้บางชนิดสามารถทาทับด้วยยูริเทนได้
--------------------------------------------------------------------------------
4. สีงานพื้นไม้
ยูริเทน อุปกรณ์
แปรงแชล็ก (ขนกระต่าย) กระดาษทรายละเอียด
การเตรียมพื้นผิว
q ไม้ใหม่ ใช้ดินสอพอง สีฝุ่น และน้ำ ผสมให้เข้ากันโป๊วแต่งให้สีใกล้เคียงเนื้อไม้ ให้เรียบร้อย เพื่ออุดรอยเสี้ยนไม้ จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 10-30 นาที แล้วขัดทำความสะอาดพื้นผิวก่อนการเคลือบด้วยกระดาษทรายละเอียด และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง และคราบไข จากนั้นรองพื้นด้วยน้ำยารองพื้นยูริเทนวูดซีลเลอร์ โดยไม่ต้องผสมทินเนอร์ ทิ้งให้แห้ง 1-2 ชั่วโมงแล้วขัดด้วยกระดาษทรายน้ำละเอียด
q ไม้เคยทายูริเทนแล้วหากไม่มีการแตกล่อนของแผ่นฟิล์ม ให้ล้างทำความสะอาดให้หมดคราบไข แล้วขัดด้วยกระดาษทรายขัดยูริเทนให้เรียบ และทำความสะอาดให้ขจัดความสกปรกและฝุ่นละออง
q ไม้เคยทายูริเทนแล้วแต่แตกล่อน หรือเคยทาสีประเภทอื่นๆมาก่อน ให้ขัดผิวทั้งหมดออกจนถึงเนื้อไม้เดิม ด้วยกระดาษทรายสำหรับขัดยูริเทนโดยใช้น้ำประกอบการขัด เพื่อให้สามารถขัดออกได้ง่ายขึ้น
q ข้อควรระวัง
Ø ไม่ควรใช้แชลก หรือแลกเกอร์ซีลเลอร์รองพื้นเพราะจะทำให้เกิดการลอกพอง
Ø หากต้องการย้อมสีไม้ไม่ควรย้อมสีไม้ด้วยฝุ่นสีและแชลก เนื่องจากจะขวางกั้นการยึดเกาะ แต่สามารถใช้สีย้อมไม้ร่วมกับยูริเทนบางชนิดได้
Ø ไม่ควรใช้น้ำยาลอกสีในการลอกสีเก่าของไม้ เนื่องจากน้ำยาลอกสีจะทำให้การยึดเกาะของยูริเทนทำได้ไม่สมบูรณ์
การทายูริเทน
ทาหรือพ่นเคลือบผิวไม้โดยผสมกับทินเนอร์ยูริเทนโดยเฉพาะ โดยผสมยูริเทน 3 ส่วนต่อทินเนอร์ 1 ส่วน ทิ้งให้แห้ง 4-8 ชั่วโมง แล้วลูบด้วยกระดาษทรายละเอียด และทำความสะอาด แล้วจึงทาทับในเที่ยวที่ 2 โดย ผสม ยูริเทน 4 ส่วน ต่อทินเนอร์ 1 ส่วน ทิ้งให้แห้ง 4-8 ชั่วโมง หากต้องการการเคลือบผิวที่ดีก็ทาทับได้อีกชั้น โดยลูบกระดาษทรายละเอียดและทำความสะอาดก่อนลงชั้นที่ 3 (หากต้องการพื้นผิวให้ผสมหัวเชื้อด้านกับยูริเทนในการทาเที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วน สีผสมกับหัวเชื้อด้าน 25% ในกรณีต้องการความด้าน 100% )
--------------------------------------------------------------------------------
5. สีงานฟอร์นิเจอร์ไม้
แลคเกอร์ เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความเงางามของฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นกลุ่มสีแห้งเร็ว ใช้ทาหรือพ่นเพื่อความเงางาม
ลักษณะสีจะเป็นสีใสเพื่อโชว์ลายไม้ อุปกรณ์
แปรงแชล็ก หรือแปรงขนกระต่าย หรือเครื่องพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไข ขัดเสี้ยนไม้ให้เรียบ หากต้องการย้อมสีไม้ด้วยสีฝุ่นและดินสอพองก็สามารถทำได้ (ไม่สามารถใช้ร่วมกับสีย้อมไม้ได้)
การทาสี
ทาแลกเกอร์บางๆโดยผสมทินเนอร์แลกเกอร์ หรือ ทินเนอร์ AAA อัตราส่วน1 ต่อ 1 หลังจากนั้นรอให้แห้ง 5-10 นาที จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2-3 เที่ยว
--------------------------------------------------------------------------------
6. สีพ่นอุตสาหกรรม
เป็นสีกลุ่มสีน้ำมัน ให้ความเงางาม เมื่อพ่นหรือทาแล้วจะไม่โชว์ลายไม้ เป็นกลุ่มสีแห้งเร็ว ใช้สำหรับ
งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ อุปกรณ์
แปรงทาสี หรือเครื่องพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไข ขัดเสี้ยนไม้ให้เรียบ แล้วทาหรือพ่นสีรองพื้นด้วย สีพ่นพื้นเทา 1 เที่ยว โดยผสมทินเนอร์แลกเกอร์ หรือทินเนอร์ AAA อัตราส่วน1 ต่อ 1 แล้วรอให้แห้ง 5-10 นาที จึงพ่นสีทับได้
การทาสี
ทาหรือพ่นบางๆโดยผสมทินเนอร์แลกเกอร์ หรือทินเนอร์ AAA อัตราส่วน1 ต่อ 1 หลังจากนั้นรอให้แห้ง 5-10 จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2-3 เที่ยว
--------------------------------------------------------------------------------
7. กลุ่มสีทาถนน สีทากระเบื้องหลังคา
สีทาถนน
เป็นสีที่มักใช้ในการทาเส้นแบ่งช่องทางจราจร ทาเส้นแบ่งลานจอดรถ ฟุตบาท สีชนิดนี้มีให้เลือกทั้งแบบสะท้อนแสง
และแบบไม่สะท้อนแสง อุปกรณ์
แปรงทาสี หรือเครื่องมือพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไข
การทาสี
ทาสีทาถนน โดยผสมทินเนอร์เล็กน้อย หลังจากนั้นรอให้แห้ง จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2-3 เที่ยว
สีทากระเบื้องหลังคา และสนามเทนนิส
เป็นสีที่ผลิตมาเพื่อใช้ในการทากระเบื้องหลังคาโดยเฉพาะ มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศสูง
และสามารถใช้ในการทาสนามเทนนิส และบล็อกปูถนนได้อีกด้วย อุปกรณ์
แปรงทาสี หรือเครื่องมือพ่น
การเตรียมพื้นผิว
ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองและคราบไขด้วยการล้าง และเช็ดให้สะอาด หากมีสีเก่าควรขัดลอกสีออกก่อน
การทาสี
ทาสี โดยผสมน้ำเล็กน้อย ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 หลังจากนั้นรอให้แห้ง 3-5 ชั่วโมง จึงทาทับชั้นต่อไป โดยปกติจะทา 2 เที่ยว (หากใช้การพ่นให้ผสมสีกับน้ำ อัตราส่วน 2 ต่อ 1)
เครื่องมือ-อุปกรณ์ที่ใช้ในงานสี
เนื้อหาในส่วนนี้ เป็นรายละเอียดในส่วนของงานสี โดยรวมเอาอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนิยมใช้บ่อยๆ ในงานเฟอร์นิเจอร์
1. แปรงขนม้า เหมาะกับงานทาที่ไม่ต้องการความละเอียดนัก เพราะขนแปรงจะเส้นใหญ่ และการทาลงบนงานจะเกิดริ้วรอยหรือทางแปรงบ้าง เหมาะกับงานทาทั่วไปเช่นทาน้ำยากันปลวก สีน้ำฯ หลังเลิกงานควรล้างแปรงทุกครั้ง
2. แปรงขนกระต่าย-แปรงซี่หรือแปรงตับ ใช้ทาแชลก-แลคเกอร์ เหมาะกับงานทาที่ละเอียด เพราะขนแปรงจะมีความอ่อนนุ่ม เส้นเล็ก และการทาลงบนงานจะไม่เกิดริ้วรอยหรือทางแปรง เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ หลังเลิกงานควรล้างแปรงทุกครั้ง
3. เกรียงเหล็ก ใช้สำหรับการโป๊วในผิวหน้าที่ต้องการความเรียบ แผ่นเหล็กจะบางปลายตรง และเรียบเหมาะกับการปาดหรืออุดให้สีโป๊วเรียบเสมอกับผิวหน้า
4. เชลแลคขาว มีลักษณะเป็นผง เวลาใช้ต้องมาหมักกับแอลกอฮอล์ ให้ละลายเข้ากัน ในภาชนะที่ไม่เป็นโลหะ และเก็บไว้ในที่อับแสง เป็นตัวรองพื้นก่อนการทาแลคเกอร์ ช่วยการจับยึดเกาะผิวหน้าและป้องกันการซึมออกมาของยางไม้ได้ ในระดับหนึ่ง
โป๊วพลาสติก
5. โป๊วรถยนต์
เป็นตัวโป๊วที่นิยมใช้กับงานที่ต้องพ่นทับ ไม่โชว์ลายไม้ เช่นสีพ่น เป็นต้น การใช้ต้องมีตัวเร่งให้แข็ง(Hardenner) ถ้าต้องการให้แข็งตัวช้าก็ผสมตัวเร่งแต่น้อย
6. โป๊วเหลือง เป็นตัวโป๊วที่นำใช้กับงานกึ่งเปิด และเปิดลายไม้ได้ดี มีลักษณะเหลว ใช้ง่าย แห้งไม่เร็วนัก
โป๊วแดง
7. โจมาร์
เป็นตัวโป๊วอีกตัวหนึ่ง ที่นิยมมากเช่นกัน สำหรับพวกสีพ่น ที่ปิดลายไม้ มีเนื้อเหลว แห้งตัวช้า นิยมมาพี้ลงในร่องเสี้ยน ด้วยคุณสมบัติที่เหลวตัวนั่นเอง
ความปลอดภัยในการทำงาน
ในการปฏิบัติงานในโรงงานสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ คือ ความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงใน
ที่จะได้รับอันตรายในการทำงาน หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบ และเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง
นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง เสียง สิ่งเหล่านี้หากมี
ความบกพร่องและผิดมาตรฐานที่กำหนดไว้
ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นความพอใจอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายควรมีแก่กัน ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการทำงาน เราควรฝึก
เสียตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีความรู้และความเข้าใจแล้วนั่นหมายความว่าตลอดชีวิตของการทำงานจะไม่ประสบอันตราย
ความปลอดภัยในการทำงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่ง
ก็คือสภาพการทำงานให้ถูกต้องโดยปราศจาก "อุบัติเหตุ" ในการทำงาน
อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สิน
เสียหาย หรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
1. อุบัติเหตุกับการทำงาน
อุบัติเหตุและการทำงานมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันเสมอ กล่าวคือ ในขณะที่เราทำงานนั้นจะมีอุบัติเหตุแอบแฝงอยู่ และเมื่อใด
ที่เราประมาท อุบัติเหตุก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันทีซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.1 ตัวบุคคล คือ ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่าง ๆ และเป็นตัวสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
1.2 สิ่งแวดล้อม คือ ตัวองค์การหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่
1.3 เครื่องมือ เครื่องจักร คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
2. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
2.1 สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อันได้แก่ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในการทำงานที่เสื่อมคุณภาพ พื้นที่
ี่ทำงานสกปรกหรือเต็มไปด้วยของที่รกรุงรัง ส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักรไม่มีที่กำบังหรือป้องกันอันตราย การจัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ เป็นต้น
2.2 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย เป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่
ปลอดภัย อันได้แก่
- สาเหตุที่คนกระทำการอันไม่ปลอดภัย เพราะ
1. ไม่มีความรู้เพียงพอ จึงทำงานแบบลองผิดลองถูก
2. ขาดการฝึกอบรมหรือชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้องในการทำงาน
3. มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรักษาความปลอดภัย (ประเภทพูดเท่าไหร่ไม่เชื่อ บอกเท่าไร ไม่ฟัง)
- คนเรากระทำการอันไม่ปลอดภัยได้ เพราะ
1. ไม่ทราบแน่ชัด
2. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
3. ประมาท เลินเล่อ
4. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
5. อารมณ์ไม่ปกติ เช่น กำลังโกรธเพื่อนร่วมงาน
6. รีบร้อนเพราะงานต้องการความรวดเร็ว
ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
4.1 ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวผู้ปฏิบัติงาน
4.1.1 การแต่งกาย
- เครื่องแบบที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร คือ เสื้อและกางเกงที่เป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งอยู่ใน
สภาพที่เรียบร้อย เสื้อผ้าที่ฉีกขาดไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้เข้าไปติดกับเครื่องจักรที่กำลังหมุนได้
- ติดกระดุมทุกเม็ดให้เรียบร้อย
- ไม่ควรใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ นาฬิกา แหวน
- ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้าบู๊ด เพื่อป้องกันเศษโลหะทิ่มตำ
- ควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา เช่น การเจียระไนงาน หรือแสงจากการเชื่อมโลหะ
- ควรสวมหมวกในกรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเคมี
- ไม่ควรไว้ผมยาวหรือมิฉะนั้นควรสวมหมวก
- สภาพการทำงานที่มีเสียงดัง ควรสวมที่ครอบหู
4.1.2 ความประพฤติตนโดยทั่วไป
- การเดินไป-มาในโรงงานควรระมัดระวังอยู่เสมอ
- ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต
- ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงานจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง
- ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในโรงงานโดยเคร่งครัด
4.2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี และให้เหมาะสมกับงานเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่ ค้อน ไขควง คีม ตะไบ เลื่อย อุปกรณ์ร่างแบบต่าง ๆ เช่น เหล็กขีด วงเวียน ฯลฯ
เครื่องจักรกลจัดเป็นเครื่องทุ่นแรง สามารถช่วยให้ทำงานได้ตามความต้องการ ประหยัดเวลา แรงงานและทำงานได้มากมาย
หลายอย่างในขณะเดียวกันถ้าไม่รู้จักใช้ อันตรายจากเครื่องจักรก็มีมากพอ ๆ กับประโยชน์ ของเครื่องจักรนั่นเอง และในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร สิ่งที่
ควรพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงานควรปฏิบัติดังเรื่องต่อไปนี้
- การถือเครื่องมือที่มีคมควรให้ปลายชี้ลงด้านล่าง หรือหาของหุ้มปิดเสีย เช่น วงเวียน เหล็กขีด อย่าเก็บหรือพกไว้ใน
กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง
- ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด เช่น ค้อนที่บิ่นหรือแตกเพราะจำทำให้เกิดความผิดพลาดขณะทุบหรือตีชิ้นงานได้
- การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้หล่นลงมาโดนคนที่อยู่ข้างล่างได้
- เมื่อจะเดินเครื่องจักร ผู้ใช้ต้องรู้เสียก่อนว่าจะหยุดเครื่องอย่างไร
- การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักรหรือเปลี่ยนสายพาน เฟือง จะต้องหยุดเครื่องและตัดสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง
- อย่าพยายามหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
- พึงระวังส่วนประกอบของเครื่องจักรที่อาจจะเป็นอันตรายได้ เช่น เฟือง สายพาน มีดกัดต่าง ๆ จะต้องมีฝาครอบ
หรือเครื่องป้องกันเอาไว้
- การยกของหนักอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ควรช่วยกันหรือใช้เครื่องมือยก และเมื่อยกของหนัก ๆ จากพื้น อย่าใช้
หลังยก ให้ใช้กล้ามที่ขายกแทน
- การยกของควรใช้กำลังกล้ามเนื้อที่ต้นขายก โดยยืนในท่าที่จะรับน้ำหนักได้สมดุลย์ คือ งอเข่า หลังตรง ก้มหน้า จับของ
ให้แน่นแล้วยืดขาขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงการยกของมีคม
- เมื่อยกขึ้นแล้วก่อนจะเดินจะต้องมองเห็นข้างหน้าและข้าง ๆ รอบตัว
อ้างอิง...wwwgoogle.com